การจัดการพัสดุคงคลังเคมีในอุตสาหกรรมการผลิตผ้าใบไทร์คอร์ด ด้วยวิธีการกำหนดการสั่งซื้อ

Main Article Content

จรีรัตน์ อ้วนเสมอ
โอฬาร กิตติธีรพรชัย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
วัตถุดิบคงคลังเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการป้องกันความต้องการที่ไม่แน่นอนและเพื่อการดำเนินการผลิตที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ดังนั้นบริษัทจำต้องพิจารณาวิธีการกำหนดขนาดการสั่งซื้อที่ใช้ว่าเหมาะสมกับวัตถุดิบนั้นหรือไม่ งานวิจัยนี้ประยุกต์ใช้วิธีการ Lot Sizing กับวัตถุดิบประเภทสารเคมีที่ใช้ในโรงงานผลิตผ้าใบไทร์คอร์ดทั้งหมด 12 ชนิด โดยทำการวิเคราะห์ปริมาณความต้องการสารเคมีที่ใช้ในการผลิตย้อนหลัง52 สัปดาห์และหาต้นทุนรวมในการจัดการสารเคมีคงคลังจากวิธีการหาขนาดการสั่งซื้อที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต 5 วิธี ได้แก่ Lot-For-Lot, Period Order Quantity, Least Unit Cost, Part Period Balancing และ Silver-Meal Method แล้วเปรียบเทียบกับต้นทุนรวมในการจัดการสารเคมีคงคลังจากวิธี Wagner-Whitin Algorithm (WW) ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ต้นทุนรวมต่ำที่สุด แต่มีข้อจำกัดด้านการใช้งานจริงเนื่องจากเป็นวิธีการที่ซับซ้อน ยากต่อการทำความเข้าใจของผู้ปฏิบัติงานและประสบปัญหาระบบรวน ผลการเปรียบเทียบพบว่าวัตถุดิบส่วนใหญ่เหมาะสมกับวิธีSilver-Meal Method เนื่องจากทำให้ต้นทุนรวมในการจัดการสารเคมีคงคลังต่างจากวิธีการ WW ไม่เกิน 11%

คำสำคัญ: การหาขนาดการสั่งซื้อ การจัดการวัตถุคงคลัง ประเภทสารเคมี อุตสาหกรรมผ้าใบไทร์คอร์ด

Abstract
Raw-material inventory is an essential part for protecting against demand uncertainty and for smoothing production. As a result, a company has to consider the appropriate order quantity for each raw material. This article applies lot sizing to 12 chemical compounds used in a Tire Cord Fabric factory. We analyzed historical usage quantity of compounds throughout 52 weeks and compared five lot-sizing policies that are popular in production, particularly Lot-For-Lot, Period Order Quantity, Least Unit Cost, Part Period Balancing and Silver-Meal Method with Wagner-Whitin Algorithm (WW), which yields the optimal total inventory cost. Nevertheless, WW Algorithm is complex and difficult for an operator to gain insight as well as exhibits the System Nervousness problem. The comparison showed that the most suitable policy for the majority of compounds is Silver-Meal Method because its total inventory cost is within 11% of the optimal solution. 

Keywords: Lot Sizing Problem, Chemical Inventory Management, Tire Cord Fabric Industry

Article Details

บท
บทความวิจัย