การประยุกต์ใช้คิวเอฟดีเพื่อค้นหาคุณลักษณะและออกแบบระบบต้นแบบ เพื่อการทำนายผลผลิตพืชไร่

Main Article Content

ขนิษฐา กุลนาวิน
ปานจิตร์ หลงประดิษฐ์
ชมัยพร เจริญพร
ภัทรสินี ภัทรโกศล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ปัญหาส่วนใหญ่ของการออกแบบเทคโนโลยีสารสนเทศคือ ไม่ได้งานที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ดังนั้นงานวิจัยนี้เสนอการประยุกต์ใช้เทคนิคคิวเอฟดี (Quality Function Deployment: QFD) เพื่อค้นหาคุณลักษณะของระบบต้นแบบเพื่อการทำนายผลผลิตพืชไร่โดยทำการแปลงความต้องการของผู้ใช้ของศูนย์วิจัยข้าวนครราชสีมาเป็นคุณลักษณะของระบบต้นแบบแล้วนำมาออกแบบ และทดสอบการยอมรับของผู้ใช้ ผลการวิจัยพบว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการประยุกต์ใช้เทคนิคคิวเอฟดี 4 ด้าน โดยพิจารณาจากค่าความสำคัญสัมพันธ์ของผู้ใช้ได้ดังนี้ 1) การทดสอบด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ให้ความสำคัญที่สุดคือ ด้านความสามารถด้านการทำงานทั่วไป (0.89) 2) การทดสอบด้านการทำงานของระบบให้ความสำคัญที่สุดคือ ความต้องการนำข้อมูลเข้า (0.82) 3) การทดสอบด้านความง่ายต่อการใช้งาน ให้ความสำคัญที่สุดคือ ความยืดหยุ่น (0.60) และ 4) การทดสอบด้านความปลอดภัยของระบบ ให้ความสำคัญที่สุดคือด้านความปลอดภัยของการเข้าถึงข้อมูล (0.58) และเมื่อนำคุณลักษณะของระบบต้นแบบไปออกแบบระบบต้นแบบพบว่า ผลการประเมินการยอมรับการออกแบบระบบต้นแบบโดยรวมมีค่าเฉลี่ย 3.83 ซึ่งผลแต่ละด้าน มีดังนี้ 1) ผลการทดสอบการยอมรับด้านทำงานตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Functional Requirement Testing) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 2) ผลการทดสอบการยอมรับด้านการทำงานของระบบ (System Functions Testing) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 3) ผลการทดสอบการยอมรับด้านความง่ายต่อการใช้งาน (Usability Test) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 และ 4) ผลการทดสอบการยอมรับด้านความปลอดภัย (Security Testing) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 งานวิจัยขั้นต่อไปคือ การนำแบบที่ผ่านการทดสอบการยอมรับไปพัฒนาเป็นระบบต้นแบบที่สามารถนำข้อมูลจากการวิเคราะห์เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาและส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตที่ดี และช่วยเตรียมความพร้อมในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเมื่อมีการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอนาคตนี้

คำสำคัญ: ระบบทำนายผลผลิตพืชไร่ การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้งาน เทคนิคคิวเอฟดี

Abstract

One of the major problems of information technology design is that the designs do not take account of what the users need. This research introduces the application of Quality Function Deployment (QFD) to determine the specifications of a prototype system for crop yield prediction. The research was carried out by eliciting the staff requirements of the Nakhon Ratchasima Rice Research Center and transforming the requirements into technical specifications, designing the system, and evaluating the user satisfaction. The research studies revealed that there were four characteristics of specifications as follows; 1) a functional requirements test, where the most relative importance was the capacity of general usage (0.89); 2) a system functions test, where the information retrieval was the most important (0.82); 3) a usability test, where flexibility was the most important issue (0.60); and 4) a security test, where the most important specification was data accessing (0.58). When the specifications were transformed to the design, the overall user acceptance was 3.83. Considering each perspective, the following results were found: 1) the design in relation to the functional requirements was accepted at 3.91; 2) the design in accordance with the system functions was accepted at 3.89; 3) the design regarding the usability was accepted at 3.91; and 4) the design corresponding to the security was accepted at 3.75. Future work involves developing the prototype system which can then use the results from the system’s data analysis to solve the problems and promote an increase in productivity. The system can also help enhance the competitiveness of crop yield production when the ASEAN community takes place.

Keywords: Crop Yiled Prediction System, Requirements Analysis, Quality Function Deployment

Article Details

บท
บทความวิจัย