การปรับปรุงพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของพนักงาน: กรณีศึกษา โรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อม

Main Article Content

อาทิตยา เพชรวรพันธ์
จิตรา รู้กิจการพานิช

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

โรงงานขนาดเล็กและขนาดกลางมักมีเทคโนโลยีที่ไม่สูงมากนักจึงต้องใช้พนักงานจำนวนมาก ซึ่งพนักงานมักมีพฤติกรรมการทำงานที่ไม่ตระหนักถึงความปลอดภัยงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของพนักงานในโรงงานฟอกย้อมเป็นกรณีศึกษา แผนกที่ดำเนินการศึกษาคือแผนกย้อมผ้าและแผนกตกแต่งสำเร็จ การวิจัยดำเนินตามวงจรเดมมิ่ง 3 รอบ วงรอบที่ 1 เป็นการสร้างความตระหนักถึงความปลอดภัยให้พนักงาน วงรอบที่ 2 เป็นการสร้างต้นแบบและวงรอบที่ 3 เป็นการติดตามการทำงานของพนักงานโดยเริ่มจากให้ทีมงานร่วมวางแผนในการปรับปรุงพฤติกรรมของพนักงาน ดำเนินการตามแผน แล้ววัดผลการปรับปรุงพฤติกรรม หากผลยังไม่เป็นที่พอใจก็วางแผนใหม่แล้วทำซ้ำจนกว่าผลจะเป็นที่พอใจ เมื่อวัดผลการปรับปรุงพฤติกรรมของพนักงานแผนกย้อมผ้าและแผนกตกแต่งสำเร็จตามลำดับ พบว่าการปรับปรุงพฤติกรรมในวงรอบที่ 1 ดีขึ้น 3.50% และ 2.91% ของการประเมินเบื้องต้น วงรอบที่ 2 พบการปรับปรุงดีขึ้น 0.74% และ 2.29% ของวงรอบที่ 1 และวงรอบที่ 3 พบการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น 1.57% และ 0.96% ของวงรอบที่ 2

คำสำคัญ: การปรับปรุงพฤติกรรม พฤติกรรมความ ปลอดภัย พนักงานฟอกย้อม

Abstract

Small and medium-sized enterprises low-tech factories require a number of workers, who may cause potential risks from inappropriate operation due to unawareness of safety standards. This study aims to improve safety behaviors of the workers from 2 sections of a dyeing factory, including the fabric dyeing and fabric finishing divisions. The 3-time application of Deming’s cycle was employed in continuous improvement process. The first cycle aimed at embedding safety awareness in the operators; the second involved setting up the role model and the last cycle was to monitor the working process of the operators. The staff were allowed to participate in policy planning for enhanced safety behaviors, pursuing the plan together with functional behavior assessments. In case of a plan failure or unsatisfactory results, plan modification and replication will be implemented. As results, developed safety behaviors among employees in the fabric dyeing and fabric finishing sections were revealed as follows: In the first cycle, operators’ behavior adjustment rose by 3.50% and 2.91%, compared to the continuous improvement rates of 0.74% and 2.29%; and 1.57%; along with 0.96% in the second and third cycles.

Keywords: Behaviors Improving, Safety Behaviors, Dyeing Operators

Article Details

บท
บทความวิจัย