ALM รีเทิร์น: การกลับมาแก้ปัญหา การ (ไม่) พูดภาษาอังกฤษของคนไทย

Main Article Content

ปวีณัย บุญปก
วิชุดา ขุนหนู

บทคัดย่อ

แม้ว่าปัจจุบันการสอนภาษาอังกฤษด้วยวิธีสอนแบบฟัง-พูด (Audiolingual Method หรือ ALM) อาจจะเสื่อมความนิยมลงไปและไม่ได้รับความสนใจจากหลายประเทศในซีกโลกตะวันตกเนื่องจากการสอนด้วย ALM นักเรียนต้องพูดตามครูและท่องจำบทสนทนาให้ได้ หลักการนี้โดนโจมตีว่าเป็นการสอนแบบนกแก้วนกขุนทอง ไม่สามารถทำให้นักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงได้ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเชื่อว่าวิธีการสอนแบบนี้สามารถแก้ไขปัญหาการพูด-ฟังภาษาอังกฤษของคนไทยได้ ถ้านำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม

บทความนี้มีจุดประสงคืเพื่อนำเสนอผลการสอนการพูดภาษาอังกฤษด้วย ALM โดยมีสื่ออุปกรณ์ที่สอดคล้องกับบทเรียนและใช้ภาษาไทยเป็นสื่อในการสอนฝึกพูดบทสนทนาเป็นภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบุคลากรของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จำนวน 3 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 คน เคยเรียนการพูดภาษาอังกฤษด้วยวิธี ALM มาก่อนหน้านี้เป็นเวลา 20 ชั่วโมง การสอนครั้งนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 18 คาบ คาบละ 1 ชั่วโมง และเป็นการสอนต่อเนื่องจากความรู้เดิม โดยเปิดโอกาสให้กลุ่มตัวอย่างมีอิสระในการพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น ผลการสอนพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีทักษะการพูดภาษาอังกฤษดีขึ้น คือ พูดได้คล่องแคล่วมากขึ้น มั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น กล้าพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น และสามารถนำความรู้ภาษาอังกฤษที่มีอยู่เดิมซึ่งอยู่นอกเหนือจากเนื้อหาที่ผู้เขียนกำหนดให้มาประยุกต์ใช้ในการทำแบบฝึกหัดได้ ผลจากการสอนครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับการสอนทักษะการพูดและทักษะการฟังภาษาอังกฤษในระดับเบื้องต้นให้แก่นักเรียนคนไทยทั้งวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับต้น เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การสอนทักษะการพูดวิธีอื่นต่อไป เช่น วิธีสอนแบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching Method หรือ CLT)

Some linguists and second/foreign language teachers chaimed that Audiolingual Method (ALM) was ineffective for teaching second/foreign languages because of its rote learning style. However, this study is based on a belief that ALM will be able to solve Thais’ English speaking problem i.e. their reluctance to speak English. This paper aims to report findings on teaching English speaking to Thais with an “adapted ALM”, one distinction of which is to use Thai as the medium language of instruction.

The participants in this research consisted of 3 adult learners. Prior to the present class, they had learnt speaking English by a controlled “adapted ALM” for 20 hours and now attended an extended “adapted ALM” for 18 hours. They were allowed to speak English more freely using both the materials presented in the class and their background knowledge of English. At the end of the course, they spoke English more fluently, more confidently, to the extent that they applied what they learnt both in and outside the class.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความ