ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ต่อทักษะทางปัญญาของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • นภาพร พุฒิวณิชย์
  • สุรศักดิ์ พุฒิวณิชย์
  • มาริสา สุวรรณราช
  • อรทัย แก้วมหากาฬ

คำสำคัญ:

การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก, ทักษะทางปัญญา, นักศึกษาพยาบาล, รายวิชาการพยาบาลบุคคลที่ มีปัญหาสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะทางปัญญาของนักศึกษาพยาบาล และเปรียบเทียบ

ทักษะทางปัญญาก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ประชากรที่ใช้คือนักศึกษา

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2/1 รุ่นที่ 48 ปีการศึกษา 2557 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

จำนวน 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา

2) แบบวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .97 การวิเคราะห์ข้อมูล

ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Pair t-test ผลการวิจัยพบว่า

1. นักศึกษาส่วนใหญ่มีผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความสามารถใช้กระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์ ทางการวิจัย และนวตกรรมที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาสูงสุด (μ=2.61, s=0.35) รองลงมา คือ

ด้านความสามารถพัฒนาวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบททางสุขภาพที่

เปลี่ยนไป (μ=3.50, s=0.40)

2. ค่าเฉลี่ยคะแนนผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ของนักศึกษาพยาบาลโดยภาพรวม ภายหลังการ

จัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (μ=3.47, s=0.35) สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหา

เป็นหลัก (μ=2.57, s=0.33) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t=-21.38, p<.001)

3. เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยผลการเรียนรู้ทักษะทางปัญญาทั้ง 6 ด้าน ได้แก่

1) ด้านการตระหนักรู้ในศักยภาพ และสิ่งที่เป็นจุดอ่อนของตนเอง 2) ด้านความสามารถสืบค้น และวิเคราะห์

ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย 3) ด้านความสามารถนำข้อมูล และหลักฐานไปใช้ในการอ้างอิง และแก้ไข

ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ 4) ด้านความสามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพและ

ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งใช้ประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อให้เกิดผลลัพท์ที่ปลอดภัย และมีคุณภาพในการให้บริการการ

พยาบาล (μ=3.50, s=0.40) 5) ด้านความสามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทางการวิจัย และนวัตกรรม

ที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา และ 6) ด้านความสามารถพัฒนาวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้อง

กับสถานการณ์ และบริบททางสุขภาพที่เปลี่ยนไป ภายหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก

สูงกว่าก่อนการเรียนการสอน โดยใช้ปัญหาเป็นหลักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

วิทยาลัยควรเตรียม อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา ให้มีสมรรถนะด้านการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็น

หลัก ตลอดจนวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างมีระบบ

Downloads