แบบจำลองเชิงสาเหตุคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
  • สุพิศ ศิริอรุณรัตน์
  • พิริยา ศุภศรี
  • วรรณทนา ศุภสีมานนท์
  • นารีรัตน์ บุญเนตร
  • ชรริน ขวัญเนตร

คำสำคัญ:

แบบจำลองเชิงสาเหตุ, คุณภาพชีวิต, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่าง

คือ หญิงตั้งครรภ์จำนวน 250 คน ที่รับบริการ ณ แผนกฝากครรภ์ ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม จากโรงพยาบาล

ระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรอบรู้ทาง

สุขภาพ แบบสอบถามการแสวงหาข้อมูลทางสุขภาพ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถาม

การจัดการตนเอง และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตในขณะตั้งครรภ์ หาค่าความตรงตามเนื้อหาโดยใช้ CVI เท่ากับ

.90, .86, .93, .84 และ 1.00 หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .72, .78, .94,

.83 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงเหตุ

และผล

ผลการศึกษาพบว่า ความรอบรู้ทางสุขภาพ การแสวงหาข้อมูลทางสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม และ

การจัดการตนเองอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 22.4 (R2=.224) ค่าความ

สอดคล้องของแบบจำลองที่ลดรูปมีค่าสถิติอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ( x2=5.19, df=3, p=.16; / df=1.73;

CFI =.99; GFI=.99; AGFI=.96; RMSEA=.05) โดยการจัดการตนเองมีอิทธิพลโดยตรงทางบวกต่อคุณภาพชีวิต

( \inline \beta=.34, p<.001) ความรอบรู้ทางสุขภาพมีอิทธิพลโดยตรงและโดยอ้อมทางบวกหต่อคุณภาพชีวิตโดยผ่านการ

จัดการตนเอง ( \beta=.20, p=.002; \beta=.24, p< .001 ตามลำดับ) นอกจากนี้ ทั้งการแสวงหาข้อมูลทางสุขภาพและ

การสนับสนุนทางสังคมมีอิทธิพลโดยอ้อมทางบวกต่อคุณภาพชีวิต

ผลการวิจัยนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการให้บริการฝากครรภ์ที่ส่งเสริมความรอบรู้

ทางสุขภาพและความสามารถในการจัดการตนเอง เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีในขณะตั้งครรภ์

Downloads