การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามมาตรฐานงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ในหน่วยบริการปฐมภูมิในอำเภอหนึ่งใน จ.สงขลา

ผู้แต่ง

  • ปัญจนาถ เมธีอภิรักษ์

คำสำคัญ:

มาตรฐานเภสัชกรรมปฐมภูมิ, หน่วยบริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน

งานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ในหน่วยบริการปฐมภูมิ ในอำเภอหนึ่ง ใน จ.สงขลา และเพื่อศึกษาความต้องการพัฒนา

งานด้านเภสัชกรรมปฐมภูมิตามความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ ดำเนินการ

วิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง คือ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และศูนย์สุขภาพชุมชนจำนวน 13 แห่ง ตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ

ที่ใช้คือแบบสอบถามที่ผ่านการหาค่าความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ หาดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาได้ค่า

เท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาความต้องการพัฒนางานด้านเภสัชกรรม

ปฐมภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรมปฐมภูมิ จำนวน 13 คน

และผู้รับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 13 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และ

นำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า

1. ผลการดำเนินงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ ระดับบุคคลได้คะแนนเฉลี่ย 100.46 จากคะแนนเต็ม 148

คะแนนคิดเป็นร้อยละ 67.88 ผลการประมินอยู่ในระดับปานกลาง ระดับครอบครัวได้คะแนนเฉลี่ย 12.08 จาก

คะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 60.38 ผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง และระดับชุมชนได้คะแนน

เฉลี่ย 7.46 จากคะแนนเต็ม 8 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 46.63 ผลการประเมินอยู่ในระดับน้อยต้องปรับปรุง

2. การศึกษาความต้องการพัฒนางานด้านเภสัชกรรมปฐมภูมิ ตามความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานในหน่วย

บริการปฐมภูมิ พบว่า สิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องการพัฒนา ระดับบุคคล คือ งานด้านการส่งมอบยาให้ผู้ป่วยและ

มาตรฐานความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้ป่วย ระดับครอบครัว คือทักษะการเยี่ยมบ้านร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ

เช่น ต้องการเรียนรู้และพัฒนาทักษะไปพร้อมกับการปฏิบัติจริง ระดับชุมชน คือ พัฒนาวิธีการค้นหาปัญหาด้าน

การค้มุครองผ้บู ริโภคทางด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทักษะการทำ งานเป็นทีมร่วมกับภาคีเครือข่ายและองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่น

3. การศึกษาความต้องการพัฒนางานด้านเภสัชกรรมปฐมภูมิ ตามความคิดเห็นของผู้รับบริการ ในหน่วย

บริการปฐมภูมิ พบว่า ระดับบุคคล ต้องการยาที่มีคุณภาพหลากหลายรูปแบบ ฉลากยาที่ชัดเจน บนฉลากยา

ประกอบด้วย สรรพคุณ ข้อควรระวัง และวันหมดอายุ การส่งมอบยาด้วยภาษาท้องถิ่นที่เข้าใจง่าย มีกิริยาท่าทาง

ที่เป็นมิตร เข้าใจผู้ป่วย ระดับครอบครัว ต้องการให้เภสัชกรเข้าถึงชุมชุน ให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในการใช้

ยา การใช้ยาเทคนิคพิเศษ ยาที่ต้องให้คนไข้กลุ่มเฉพาะ เช่น คนไข้ที่ให้ยาและอาหารทางสายยาง ผ่านเสียงตาม

สายประจำหมู่บ้านหรือให้ความรู้เป็นกลุ่มแต่ละชุมชน ระดับชุมชน ต้องการให้มีการตรวจร้านชำ แก้ปัญหาการ

จำหน่ายยาชุดในชุมชนและเฝ้าระวังยาสมุนไพรที่ผสมยาสเตรียรอยด์ คืนข้อมูลสู่ชุมชน

Downloads