ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับยาบรรเทาปวด การควบคุมตนเอง การรับรู้การสนับสนุน การคลอดจากพยาบาลกับความรู้สึกสุขสบายในระยะคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก

ผู้แต่ง

  • มาวศรี มานุช
  • ศรีสมร ภูมนสกุล
  • จันทิมา ขนบดี

คำสำคัญ:

การควบคุมตนเอง, การรับรู้การสนับสนุนการคลอดจากพยาบาล, ความรู้สึกสุขสบายในระยะคลอด การได้รับยาบรรเทาปวด, ผู้คลอดครรภ์แรก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับยาบรรเทาปวด
การควบคุมตนเอง การรับรู้การสนับสนุนการคลอดจากพยาบาล กับความรู้สึกสุขสบายในระยะคลอด ของผู้คลอด
ครรภ์แรก โดยใช้ทฤษฎีความสุขสบายของคอลคาบา (Kolcaba, 2003) มาเป็นแนวทางในการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง
เป็นผู้ที่มาคลอดครรภ์แรก และพักฟื้นหลังคลอด ที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี และ
โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างเดือน เมษายน ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ.2559 เลือกกลุ่มตัวอย่าง
แบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 90 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความ สามารถใน
การควบคุมตนเองในระยะคลอด แบบวัดพฤติกรรมสนับสนุนการคลอดของพยาบาล แบบสอบถามความรู้สึก
สุขสบายในระยะคลอด ได้ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ .79, .96 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์
ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า
1. ผู้คลอดครรภ์แรก มีระดับความรู้สึกสุขสบายในระยะคลอดโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง
(M=149.98, SD=18.71)
2. การควบคุมตนเอง และการรับรู้การสนับสนุนการคลอดจากพยาบาล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ
ความรู้สึกสุขสบายในระยะคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.66, r=.40 , p<.05 ตามลำดับ) ส่วนการได้รับยา
บรรเทาปวด ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกสุขสบายในระยะคลอด (r=.06, p>.05)
ดังนั้น พยาบาลห้องคลอด ควรให้การสนับสนุนการคลอดที่ตอบสนองตามความต้องการของผู้คลอด
และส่งเสริมความสามารถในการควบคุมตนเองของผู้คลอด เพื่อให้ผู้คลอดได้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่
ในการเผชิญสถานการณ์ต่าง ๆ ในการคลอด นำไปสู่ความรู้สึกสุขสบายทั้งมิติทางด้านร่างกาย จิต-วิญญาณ สังคม
และสิ่งแวดล้อม

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย