โครงการหลวง: รอยต่อระหว่างรัฐกับภาคประชาสังคม

Main Article Content

อมรา พงศาพิชญ์

บทคัดย่อ

ในบทความนี้ผู้เขียนเลือกที่จะวิเคราะห์เฉพาะพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ภายใต้ชื่อ “โครงการหลวง” ในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่าง โครงการหลวง กับประชาชนชายขอบ กับการสร้าง อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของคนชายขอบในโครงการหลวง ด้วยแนวคิด คตินิยม การหน้าที่ (functionalism) และโครงสร้างหน้าที่ (structural-functionalism) ร่วมกับแนวคิดการจัดโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม(structuration) ในภาวะอิงอาศัยซึ่งกันและกัน (duality) ระหว่างเสรีภาพในการกระทำของบุคคลกับโครงสร้างสังคม รวมถึงแนวคิดการรื้อสร้างพื้นที่ทางสังคมใหม่ให้กับโครงการของสถาบันกษัตริย์ (deconstruction / reconstruction) โครงการหลวงทำหน้าที่สถาบันทางสังคมในโครงสร้างสังคมไทย โดยโครงการหลวงได้ทำหน้าที่สร้างพื้นที่ทางสังคมให้กับคนชายขอบ เริ่มจากรูปแบบของการสงเคราะห์ ต่อมาปรับมาเป็นการพัฒนาสังคม สร้างอาชีพให้คนชายขอบ และปัจจุบันได้ทำหน้าที่ในรูปขององค์กรภาคประชาสังคม พัฒนาการของโครงการหลวง สอดคล้องกับขบวนการประชาสังคม คือ ทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ในส่วนที่กลไกราชการปกติไม่สามารถทำได้ดี รวมทั้งโครงการหลวงได้มีส่วนช่วยดึงคนชายขอบ ซึ่งเคยถูกมองว่าไม่มีคุณค่า ให้มีส่วนใกล้ชิดกับศูนย์กลางอำนาจและทำให้เห็นรูปธรรม ของสังคมพหุวัฒนธรรมที่ชัดเจนขึ้น แม้จะไม่สมบูรณ์เต็มที่ก็ตามด้วย

ในโครงสร้างสังคมไทยปัจจุบัน โครงการหลวงได้ทำหน้าที่ในฐานะสถาบันทางสังคม หลังจากที่ระบอบกษัตริย์ได้ถูกลดอำนาจหน้าที่ในสถาบันการปกครองหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นการสร้างโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับประชาชนในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม

 

The Royal Project: Interface between Government and Public Sector

In this article, functional analyses of “The Royal Project” initiated by the late King Rama IX are presented. The relationship between the Royal Project and ethnic marginal people started from the project adopting philanthropy concept at first, and then later shifting to adopting social/community development concept. At present the Royal Project is functioning as a civil society organization, responding to the needs of the people in areas where government social services cannot be provided adequately. The development process of the Royal Project follows the pattern of development of civil society movement in Thailand. The project has been giving social space to marginal people in Thai society. Although not quite successful, the inclusive de-marginalization process has brought ethnic minorities closer to the center of power leading toward a more realistic culturally plural society.

In the present Thai social structure, the Royal Project has been functioning as a social institution representing the monarchy after the absolute power of the monarchy in the political institution has been replaced in 1932.

Article Details

บท
บทความพิเศษ (Special Article)