Focus and Scope

นโยบายและกลุ่มเป้าหมายของวารสาร

  วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัยรับพิจารณาและตีพิมพ์บทความวิจัยที่เป็นผลงานวิจัยทางการศึกษาและการเรียนรู้ สาขาสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักสูตรและการสอน การวิจัยทางการศึกษา การบริหารการศึกษา จิตวิทยาการศึกษาและการเรียนรู้ พัฒนศึกษา นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตลอดชีวิต นิเทศการศึกษา การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา สุขศึกษาและพละศึกษา ของคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์/บุคลากรทางการศึกษา/ผลงานวิทยานิพนธ์ของนิสิต  นักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต และระดับดุษฎีบัณฑิต (ทั้งนี้ วารสารในแต่ละฉบับ จะปรากฏบทความวิชาการพิเศษหรือบทความวิจัยพิเศษ และบทปริทัศน์หนังสือ ซึ่งกองบรรณาธิการจะเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา/ กองบรรณาธิการอาวุโสวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย / กองบรรณาธิการวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย  เขียนบทความวิชาการพิเศษ หรือบทความวิจัยพิเศษ และบทปริทัศน์หนังสือ โดยนำบทความดังกล่าวตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย)

Peer Review Process

ระบบ Peer Review  ต้องผ่านการพิจาณาบทความที่จะลงตีพิมพ์จากคณะกรรมการ
กองบรรณาธิการฯเบื้องต้นก่อนส่งต้นฉบับให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ใน
สาขาวิชานั้นๆ ทั้งภายในและภายนอก อ่านประเมินต้นฉบับ จำนวน  3  ท่านต่อเรื่อง

-  Review Policy  การพิจารณาบทความวิจัยผู้ทรงคุณวุฒิภายใน/ภายนอก 3 คน ต้องให้ความ
เห็นชอบอนุญาตให้ตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสาร

- ผู้ประเมินบทความ (Reviewer) ทราบชื่อผู้แต่ง (Author) แต่  ผู้แต่ง (Author) ไม่ทราบชื่อผู้ประเมิน (Reviewer)  (Double-blind peer review)

Publication Frequency

กำหนดออกวารสาร ปีละ 2 ฉบับ

1) ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน

2) ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม

Open Access Policy

This journal provides immediate open access to its content on the principle that making research freely available to the public supports a greater global exchange of knowledge.

วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

Sponsors

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Faculty of Education, 
Silpakorn University)

Sources of Support

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Faculty of Education,  
Silpakorn University)

Journal History

ระเบียบการส่งต้นฉบับบทความในวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย

          กองบรรณาธิการวารสารได้กำหนดระเบียบการส่งต้นฉบับไว้ให้ผู้เขียนยึดเป็นแนวทาง ในการส่งต้นฉบับสำหรับการตีพิมพ์ลงวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย (Silpakorn Educational Research Journal)   คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และกองบรรณาธิการสามารถตรวจสอบต้นฉบับก่อนการตีพิมพ์ เพื่อให้วารสารมีคุณภาพสามารถนำไป

ใช้อ้างอิงได้

เกณฑ์ในการรับบทความ

                วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัยรับพิจารณาและตีพิมพ์บทความวิจัยที่เป็นผลงานวิจัยทางการศึกษาและการเรียนรู้ สาขาสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักสูตรและการสอน การวิจัยทางการศึกษา การบริหารการศึกษา จิตวิทยาการศึกษาและการเรียนรู้ พัฒนศึกษา นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตลอดชีวิต นิเทศการศึกษา การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา สุขศึกษาและพละศึกษา ของคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์/บุคลากรทางการศึกษา/ผลงานวิทยานิพนธ์ของนิสิต  นักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต และระดับดุษฎีบัณฑิต (ทั้งในและนอกสถาบัน) โดยผลงานที่จะนำมาตีพิมพ์ในวารสารได้นั้น จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่ทำอยู่และมีปริมาณงาน  ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ร้อยละ 80 และระดับปริญญามหาบัณฑิต ร้อยละ 100    คือ   มีความสมบูรณ์ในการเก็บข้อมูล  ในการวิเคราะห์ข้อมูล เรียบเรียงข้อมูลและเนื้อหาเพื่อเขียนให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ในงานวิจัยทั้งหมดและบทความงานวิจัยที่จะส่งตีพิมพ์นั้นจะต้องผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนจึงจะสามารถทำการส่งบทความลงตีพิมพ์ในวารสารศิลปากรศึกษาวิจัยได้

          อัตราค่าใช้จ่ายในการรับบทความเพื่อตีพิมพ์

          ผู้ส่งผลงานจะต้องชำระค่าดำเนินการในอัตรา 3,000.- บาทต่อหนึ่งผลงาน (ต้องผ่าน การพิจาณาบทความที่จะลงตีพิมพ์จากคณะกรรมการกองบรรณาธิการฯเบื้องต้นก่อนส่งต้นฉบับ ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาวิชานั้นๆ ทั้งภายในและภายนอก อ่านประเมินต้นฉบับ จำนวน  3  ท่านต่อเรื่อง และคณะศึกษาศาสตร์จะประสานงานการชำระเงินกับเจ้าของบทความวิจัยตามลำดับต่อไป)  โดยผู้ส่งผลงาน 1) โอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกสิกรไทย  สาขานครปฐม  ประเภทบัญชี  ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี  106-3-61819-1  ชื่อบัญชี คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร (รับโอนเงิน) หรือ   2) ชำระเงินสดด้วยตนเอง  ที่งานคลังฯ สำนักงานคณบดี  ชั้น 2 อาคารศึกษา 3  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร หมายเลขโทรศัพท์  062-9199536

  1. การเตรียมต้นฉบับ มีรายละเอียดดังนี้
    • ขนาดของต้นฉบับ พิมพ์หน้าเดียวบนกระดาษสั้นขนาดเอ 4 โดยเว้นระยะห่างระหว่างขอบกระดาษด้านบนและซ้ายมือ 3.5 เซนติเมตร ด้านล่างและขวามือ   5 เซนติเมตร
    • รูปแบบอักษรและการจัดวางตำแหน่ง ใช้รูปแบบอักษร TH Sarabun New พิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด โดยใช้ขนาด ชนิดของตัวอักษร รวมทั้งการจัดวางตำแหน่งดังนี้
      • ต้นกระดาษ ประกอบด้วย
    • เลขหน้า ขนาด 16 ชนิดตัวธรรมดา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวา
      • ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย) ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ
      • ชื่อเรื่อง (ภาษาอังกฤษ) ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ
      • ชื่อผู้เขียน (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ) ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวากระดาษใต้ชื่อเรื่อง (ในกรณีที่มีอาจารย์ที่ปรึกษาให้ลงชื่ออาจารย์    ที่ปรึกษาด้วย ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)
      • หัวข้อของบทคัดย่อไทย/อังกฤษ ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่ง ชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
      • คำสำคัญ (Keyword) ขึ้นบรรทัดใหม่ ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ส่วนข้อความของคำสำคัญเป็นตัวธรรมดา
      • เนื้อหาบทคัดย่อไทย/อังกฤษ ขนาด 16 ชนิดตัวธรรมดา จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ บรรทัดแรกเว้น 1 Tab จากขอบกระดาษด้านซ้าย และพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน
      • หัวข้อเรื่อง ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
      • หัวข้อย่อย ขนาด 16 ชนิดตัวธรรมดา ระบุหมายเลขหน้าหัวข้อย่อยโดยเรียงตามลำดับหมายเลขตำแหน่งเว้น 1 ย่อหน้า จากขอบกระดาษด้านซ้าย
      • เนื้อหา ขนาด 16 ชนิดตัวธรรมดา จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ และพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน
    • จำนวนหน้าต้นฉบับ ควรมีความยาวไม่เกิน 10 – 18  หน้า
  2. การเรียงลำดับเนื้อหาต้นฉบับ

เนื้อหาภาษาไทยที่มีคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ควรแปลเป็นภาษาไทยให้มากที่สุด  (ในกรณีที่คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นคำเฉพาะที่แปลไม่ได้ หรือแปลแล้วไม่ได้ความหมายชัดเจนให้ทับศัพท์ได้) และควรใช้ภาษาที่ผู้อ่านเข้าใจง่าย ชัดเจน หากใช้คำย่อต้องเขียนคำเต็มไว้ครั้งแรกก่อนเนื้อหาต้องเรียงลำดับดังนี้

  • ชื่อเรื่อง ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยให้นำชื่อเรื่องภาษาไทยขึ้นก่อน
  • ชื่อผู้เขียน เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • บทคัดย่อ เขียนทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เขียนสรุปเนื้อหาของบทความทั้งหมดให้เข้าใจที่มาของการทำวิจัย วิธีการ โดยย่อ ผลที่ได้จากการวิจัย และนำไปใช้ประโยชน์ และได้ผลลัพธ์อย่างไร ความยาวไม่ควรเกิน 250 คำ หรือ 10 บรรทัด โดยให้นำบทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อน บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) ซึ่งแปลจากบทคัดย่อภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษต้องมีเนื้อหาตรงกัน ใช้อักษรตัวตรง จะใช้ตัวเอนเฉพาะศัพท์วิทยาศาสตร์
  •  คำสำคัญภาษาไทย ไม่เกิน 5 คำ (ไม่ใช่วลี หรือ ประโยค) เป็นการระบุความสำคัญหลักใน เนื้อเรื่องงานวิจัย ต้องเป็นคำศัพท์ที่สามารถใช้ในการสืบค้นหรืออ้างอิงได้
  • คำสำคัญภาษาอังกฤษ (Key words) แปลจากคำสำคัญภาษาไทย
  •  บทนำ เป็นส่วนของเนื้อหาที่บอกความเป็นมา และเหตุผลนำไปสู่การศึกษาวิจัย และควรอ้างอิงงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย
  • วัตถุประสงค์การวิจัย ให้ชี้แจงถึงจุดมุ่งหมายของการวิจัย
  • วิธีดำเนินการวิจัย ควรอธิบายวิธีดำเนินการวิจัย โดยกล่าวถึงวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ที่มาของกลุ่มตัวอย่าง แหล่งที่มาของข้อมูล การเก็บและรวบรวมข้อมูล การใช้เครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล
  • ผลการวิจัย เป็นการเสนอสิ่งที่ได้จากการวิจัยเป็นลำดับอาจแสดงด้วยตารางกราฟ แผนภาพประกอบการอธิบาย ทั้งนี้ถ้าแสดงด้วยตาราง ควรเป็นตารางแบบไม่มีเส้น ขอบตารางด้านซ้ายและขวา หัวตารางแบบธรรมดาไม่มีสี ตารางควรมีเฉพาะที่จำเป็น ไม่ควรมีเกิน 5  ตาราง สำหรับรูปภาพประกอบควรเป็นรูปภาพขาว-ดำ ที่ชัดเจนและมีคำบรรยายใต้รูปกรณีที่จำเป็นอาจใช้ภาพสีได้
  • สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ  (โดยแยกเป็นรายประเด็น) เป็นการสรุปผลที่ได้จากการวิจัย และมีการอภิปรายผลการวิจัยว่าเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ หรือไม่ และควรอ้างทฤษฎีหรือหรือผลการวิจัยของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องประกอบ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นด้วยตามหลักการ หรือคัดค้านทฤษฎีที่มีอยู่เดิม รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงการนำผลไปใช้ประโยชน์ และการให้ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคต
  • การลงรายการเอกสารอ้างอิงในเนื้อเรื่องของบทความ (Citation)  การอ้างอิงในเนื้อหา (In-text Citation) ของบทความ ให้ใช้การอ้างแบบนามปี (Author-year) ปรากฏแทรกอยู่ในเนื้อหาของบทความ
  •  การอ้างอิง เป็นการอ้างอิงเอกสารในเนื้อหาให้ใช้ระบบ APA Style (American Psychological  Association  Style) ให้เริ่มต้นด้วยเอกสารอ้างอิงภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยเอกสารภาษาต่างประเทศ หากผู้เขียนมีมากกว่า 3 คน ให้ใส่ชื่อ 3 คนแรกแล้วตามด้วย และ คณะหรือ et al.

ตัวอย่างตารางรายงานผลข้อมูลที่ใช้ในวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย

กลุ่ม

N

คะแนนเต็ม

 

S.D.

t-test

กลุ่มทดลอง

ก่อนเรียน

หลังเรียน

 

42

42

 

25

25

 

18.90

22.36

 

4.51

3.95

 

-7.57*

กลุ่มควบคุม

ก่อนเรียน

หลังเรียน

 

42

42

 

25

25

 

18.62

20.12

 

3.92

3.83

 

-2.73*

 

*  ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05