ผลของการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยวัสดุธรรมชาติท้องถิ่นที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

พรเพ็ญ บัวทอง

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยวัสดุธรรมชาติท้องถิ่น และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยแต่ละสัปดาห์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยวัสดุธรรมชาติท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิงที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี  ศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2554 โรงเรียนบรรหารวิทยา จังหวัดปราจีนบุรีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2 จำนวน 19 คน ชาย 11 หญิง 8  โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือแผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยวัสดุธรรมชาติท้องถิ่นและแบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมกับจุดประสงค์ IOC = 0.67-1.00 และ มีค่าความเชื่อมั่นของผู้สังเกตเท่ากับ .910 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test for dependent samples ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยวัสดุธรรมชาติท้องถิ่นมีพฤติกรรมทางสังคมโดยรวมและรายด้าน ประกอบด้วย การช่วยเหลือการแบ่งปัน และความร่วมมือ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 2) จากการวัดพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยวัสดุธรรมชาติท้องถิ่นทุกสัปดาห์รวม 8 สัปดาห์พบว่าเด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมทางสังคมโดยรวมและรายด้านสูงขึ้นตามลำดับ

Article Details

Section
-
Author Biography

พรเพ็ญ บัวทอง, -

-