การได้รับวัคซีน ความรู้และความตระหนักในการป้องกันการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบีของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

Main Article Content

สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์
อังค์ริสา พินิจจันทร์
เมียว เนียน อ๋อง
พิมใจ ทวีพักตร์
ชมพู่ หลั่งนาค

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การได้รับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและ 2) ความ รู้และความตระหนักในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท ปีการศึกษา 2555 จำนวน 331 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบความรู้และความตระหนักในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้นผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าความสอดคล้อง (IOC) มีค่าเท่ากับ 0.9 ทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือกับนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี จำนวน 30 คน โดยใช้สูตร KR-20 มีค่าเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน

ผลการวิจัย

1. นักศึกษาร้อยละ 66.5 ไม่แน่ใจว่าตนเองได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ร้อยละ 53.2 ได้รับวัคซีนในช่วงปี พ.ศ. 2532-2534 และร้อยละ 76.7 ไม่แน่ใจว่าได้รับวัคซีนเพื่อกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันแบบถาวร ทั้งนี้นักศึกษา ร้อยละ 96.4 ไม่สามารถระบุปีที่ได้รับวัคซีนเพื่อกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันแบบถาวรได้ มีนักศึกษาถึงร้อยละ 76.1 ต้องการได้รับวัคซีน และร้อยละ 75.8 เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบบี ร้อยละ 68.1 ได้จากการเรียนใน วิทยาลัย และร้อยละ 95.8 ไม่มีสมาชิกในครอบครัวติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

2. ความรู้และความตระหนักในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีของนักศึกษา พบว่าภาพรวม นักศึกษาร้อยละ 73.7 ผ่านการทดสอบความรู้และความตระหนักในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ผ่านการทดสอบร้อยละ 98.6 และในภาพรวมนักศึกษาร้อยละ 77.1 มีความรู้และความ ตระหนักในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสอยู่ในระดับพอใช้ ยกเว้นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ร้อยละ 82.9 อยู่ในระดับดี เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า นักศึกษาร้อยละ 95.8 มีความรู้และความตระหนักในการป้องกันการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบี ในด้านการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีคือรีบล้างมือหรือผิวหนังบริเวณที่ สัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยทันที รองลงมาร้อยละ 94.6 คือโรคไวรัสตับอักเสบบีมีวัคซีนสำหรับป้องกัน การติดเชื้อ

 

Vaccination, Knowledge and Awareness to Prevent Hepatitis B Infection among Nursing Students of Boromarajonani College of Nursing, Chainat

Suphaphon Udomluck*;

Angrisa Pinitchan***;Myo Nein Aung**;

Pimjai Thaveepuk***;Chumpoo Langlak***

 

Abstract

The objectives of this descriptive research were to study Hepatitis B vaccination of nursing students, and to assess hepatitis B knowledge and awareness of nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Chainat (BCN Chainat). The sample consisted of 331 nursing students from 1st-4th year of BCN Chainat in the academic year 2555 B.E. Hepatitis B knowledge and awareness assessment scale was developed and tested for content validity by three experts. The validation reported an IOC of 0.9. Reliability of the scale was done with nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Saraburi by using KR-20 that was 0.8. Descriptive analysis was applied to summarize frequency, percentage, mean and standard deviation.

Results

1. The majority of nursing students, 66.5% were not sure whether they received the hepatitis B vaccine. About half, or 53.2%, mentioned that they had been vaccinated during 2532-2534 B.E. Moreover, 76.7% of them were not sure whether they received a booster dose of the hepatitis vaccine, 96.4% had no recollection of the booster year. In fact, 76.1% of the sample required vaccination; whereas 75.8% gained knowledge and awareness of hepatitis B infection and 68.1% from the college. The majority of student nurses 95.8% did not have a family history of hepatitis B.

2. Knowledge and awareness of hepatitis B infection of BCN Chainat’s student nurses found that 73.7% of them passed the test. 98.6% of the fourth year nursing students passed the test. Overall, the nursing students (77.1%) were rated at a fair level of hepatitis B knowledge and practice, except the 4th year students (82.9%) were at a good level. The majority of nursing students, 95.8% and 94.6%, had knowledge and awareness to prevent hepatitis B virus by washing hands or skin after contacting patients’ blood or secretion and knowledge on hepatitis B vaccination, respectively.

 

* Director, Boromarajonani College of Nursing, Payao

** Department of Public Health, Jutendo University Graduate School of Medicine, Tokyo, Japan

*** Senior Professional Registered Nurse, Boromarajonani College of Nursing Chainat

Article Details

How to Cite
1.
อุดมลักษณ์ ส, พินิจจันทร์ อ, อ๋อง เเ, ทวีพักตร์ พ, หลั่งนาค ช. การได้รับวัคซีน ความรู้และความตระหนักในการป้องกันการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบีของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2014 May 28 [cited 2024 Apr. 25];24(1):92-104. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/18334
Section
บทความวิจัย