การศึกษาผลของการบริโภคข้าวนึ่งกล้องเริ่มงอกกับข้าวมอลต์ที่มีต่อ ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ,A Study of Consumption Effects from Parboiled Geminated Brown Rice and Malted Rice on Elderly Health

Main Article Content

ละเอียด แจ่มจันทร์
สุรี ขันธรักษวงศ์
นวลจันทร์ เทพศุภรังษิกุล
พิชญ์อาภา แจ่มจันทร์

Abstract

การศึกษาผลของการบริโภคข้าวนึ่งกล้องเริ่มงอกกับข้าวมอลต์ที่มีต่อ ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ

ละเอียด แจ่มจันทร์* ,สุรี ขันธรักษวงศ์**

นวลจันทร์ เทพศุภรังษิกุล*** ,พิชญ์อาภา แจ่มจันทร์****

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับคอเลสเตอรอล ระดับความดันโลหิต และระดับนํ้าตาลฮีโมโกลบินเอวันซี (Hemoglobin A1C) ระยะเวลาการพักผ่อนนอนหลับ นํ้าหนัก ระบบการขับถ่ายในผู้สูงอายุก่อนและหลังบริโภคข้าวนึ่งกล้องเริ่มงอกหุงสุก 1 กลุ่ม และผู้สูงอายุก่อนและหลังบริโภคข้าวมอลต์หุงสุก 1 กลุ่ม รวมทั้งศึกษาการยอมรับต่อการบริโภคข้าวนึ่งกล้องเริ่มงอกหุงสุกและการบริโภคข้าวมอลต์หุงสุก ของผู้สูงอายุทั้งสองกลุ่ม

วิธีการวิจัย เป็นวิจัยเชิงทดลองสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ 80 คน จากชุมชน 4 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นกลุ่มข้าวนึ่งกลอ้ง 42 คน กลุ่มข้าวมอล 38 คน บริโภคต่อเนื่องวันละ 500 กรัมรวม 8 สัปดาห์ เครื่องมือวิจัยมี 2 ส่วนคือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วน บุคคล ความดันโลหิต ระดับนํ้าตาลในเลือด โมโกลบินเอวันซี (Hemoglobin A1C) ไขมันในเลือด (Cholesterol, Triglycerides, HDL, LDL) นํ้าหนัก 2) แบบบันทึกเรื่องปริมาณข้าวที่ได้รับรายวัน การนอนหลับ การขับถ่าย วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยสถิติวิเคราะห์ Wilcoxon Signed Ranks Test

ผลการวิจัยพบว่าการบริโภคข้าวนึ่งกล้องของผูสู้งอายุ ไม่มีความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังบริโภคต่อการควบคุมนํ้าหนักตัว ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิตค่าบนและค่าล่าง ระดับนํ้าตาลในเลือด ไขมันในเลือดCholesterol Triglycerides และ LDL รวมทั้งผลต่อการนอนหลับและจำนวนครั้งการขับถ่าย แต่มีค่านํ้าตาลฮีโมโกลบินเอวันซี หลังการบริโภคเพิ่มขึ้น จาก 7.4% เป็น 8 % (p<0.005) ส่วนการบริโภคข้าวมอลต์ของผู้สูงอายุ ไม่มีความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังบริโภคต่อการควบคุมนํ้าหนักตัว และดัชนีมวลกาย ความดันโลหิตค่าบนและค่าล่าง ระดับนํ้าตาลในเลือด นํ้าตาลฮีโมโกลบินเอวันซี Triglycerides HDL รวมทั้งผลต่อการนอนหลับและจำนวนครั้งการขับถ่าย แต่มีค่า Cholesterol ลดลงจาก 214 mg/dL เป็น 195 mg/dL และLDL ลดลงจาก 124.4 mg/dL เป็น 115.6 mg/dL (p<0.001)

สรุปผลได้ว่า การบริโภคข้าวนึ่งกล้องและการบริโภคข้าวมอลต์ ไม่ส่งผลต่อสุขภาพและการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดของผู้สูงอายุ อาจเป็นเพราะปริมาณของสารกาบาจากการคำนวณในการบริโภคข้าวนึ่งกล้องเท่ากับ 10.805 mg. ต่อวัน ข้าวมอลต์เท่ากับ 19.625 mg. ต่อวัน ซึ่งน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวันคือ 250–500 mg ผู้สูงอายุยอมรับข้าวนึ่งกล้องและข้าวมอลต์ทั้งด้านประโยชน์จากคุณค่าอาหารรสชาติ แต่เห็นว่าราคาสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวกล้องทั่วไป เสนอแนะให้ใช้เทคโนโลยีที่ผลิตข้าวให้มีสารกาบาสูงขึ้น และการสร้างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากข้าวกาบา เช่น เป็นผง เม็ด แคปซูล หรืออาหารจากแป้งข้าวกาบา เพื่อให้ผู้บริโภคทุกกลุ่มอายุได้รับสารกาบาในปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน

คำสำคัญ : ข้าวนึ่งกล้องเริ่มงอก ข้าวมอลต์ สุขภาพ ผู้สูงอายุ

*คณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

**พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ

***เภสัชกร แผนกเภสัชกรรม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

****แพทย์หญิง พิชชาคลินิก


A Study of Consumption Effects from Parboiled Geminated Brown Rice and Malted Rice on Elderly Health

Laiad Jamjan* Suree Khantarakwong**

Nuanjan Thepsupparangsikul*** Pit-apa Jamjan****

Abstract

     The objective of this study was to investigate the effects of Parboiled Germinated Rice (PGBR) and Malted Rice (MR) consuming on the levels of cholesterol, blood pressure, and Hemoglobin A1C bloodsugar of the elderly. A sample of eighty elderly, from four communities under the Public Health Center 56, Kannayao District, Bangkok, were divided into two groups: forty-two PGBR consumers and thirty-eight MR consumers. Each individual was physically pre-assessed a week before consuming PGBR and MR and physically post-assessed after eight weeks of daily consumption. The physical and laboratory health assessments conducted were: vital examinations of systolic-diastolic pressure, body weight, regularity of bowel elimination, sleeping time and laboratory examinations of cholesterol and hemoglobin (HbA1C).Small focused group interviews were conducted and the Wilcoxon Signed Ranks Test was performed using SPSS.

     The results revealed that there were no significant differences between the pre and post test for both PGBR and MR consumers. However, there was a slight increase in HbA1C from 7.4% to 8% (p<0.005) among PGBR consumers and a slight decrease of cholesterol from 214 mg/dL to 195 mg/dL and LDL from 124.4 mg/dL to 115.6 mg/dL (p<0.001) among MR consumers. This may be resulted from the gamma-aminobutyric acid (GABA) taken per day was 10.805 mg and the MR taken was 19.625 mg while the amount recommended daily was 250-500 mg/day. Finally, both groups accepted PGBR and MR for their nutrient content, taste and slightly lower price than that of brown rice.
     The findings suggest that consumption of PGBR and MR has no significant effects on the health of the elderly and the required daily consumption to get enough nutritional value of GABA to affect the health is in too large amount of rice for consumption. The authors suggest further development of techniques in the production of rice to increase the amount of GABA. Dietary supplements such as tablets, capsules, powder and rice flour can be used to regulate the amount of GABA intake for all ages.

Key word : Parboiled Geminated Brown Rice, Malted Rice , Health, Elderly

* Dean, Faculty of Nursing Saint Louis College

** Registered Nurse Senior Professional Level, Boromarajonnani College of Nursing Nopparat Vajira,

*** Pharmacist, Department of Pharmacy Nopparat Ratchathanee Hosital

**** Doctor, Pitcha Clinic   

Article Details

How to Cite
1.
แจ่มจันทร์ ล, ขันธรักษวงศ์ ส, เทพศุภรังษิกุล น, แจ่มจันทร์ พ. การศึกษาผลของการบริโภคข้าวนึ่งกล้องเริ่มงอกกับข้าวมอลต์ที่มีต่อ ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ,A Study of Consumption Effects from Parboiled Geminated Brown Rice and Malted Rice on Elderly Health. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2015 Feb. 6 [cited 2024 Apr. 25];24(3):77-89. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/30371
Section
บทความวิจัย
Author Biographies

ละเอียด แจ่มจันทร์

คณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
   

สุรี ขันธรักษวงศ์

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ   

นวลจันทร์ เทพศุภรังษิกุล

เภสัชกร แผนกเภสัชกรรม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี   

พิชญ์อาภา แจ่มจันทร์

แพทย์หญิง พิชชาคลินิก