การวิจัยและพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการบริการสุขภาพ,A Research and Development of Coaching Model to Enhance Health Care Service Skills

Main Article Content

จุฬารัตน์ ห้าวหาญ
อรชร อินทองปาน

Abstract

การวิจัยและพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการบริการสุขภาพ

จุฬารัตน์ ห้าวหาญ *

อรชร อินทองปาน**

บทคัดย่อ

      การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการบริการสุขภาพ และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการโค้ชที่พัฒนาขึ้น ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการที่จำเป็นโดยทำการรวบรวมข้อมูลโดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2  การออกแบบและพัฒนารูปแบบการโค้ชโดยนำผลการศึกษาจากขั้นตอนที่ 1 มาใช้ในการกำหนดกรอบแนวคิดของการพัฒนารูปแบบและกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบเป็นการนำรูปแบบการโค้ชที่สร้างขึ้นในขั้นตอนที่ 2 ไปทดลองใช้ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบการโค้ช โดย 1) ประเมินความสามารถทางด้านการโค้ช 2) ประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานด้านบริการสุขภาพก่อนและหลังได้รับการพัฒนา และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ที่ทำหน้าที่โค้ชและผู้ที่ได้รับการโค้ช กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลที่ได้รับมอบหมายให้ทำการสอนงานบุคลากรใหม่ ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากพยาบาลในโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 27 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบเองที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบเป็นการนำผลการทดลองรูปแบบการโค้ชในขั้นตอนที่ 3 มาปรับปรุงแก้ไขรูปแบการโค้ชให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้นและพร้อมที่จะนำไปใช้ต่อไป

                   ผลการศึกษา พบว่า ระบบโค้ชเป็นระบบที่เคยใช้มาก่อน และได้ผลดีในการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงาน แต่ระบบที่ใช้อยู่ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน รูปแบบการโค้ชที่ได้รับการพัฒนา ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ 1) หลักการและวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานด้านบริการสุขภาพ 2) กระบวนการ ประกอบไปด้วย 4 ระยะ คือ การเตรียมการ การวางแผน การปฏิบัติการโค้ช และการประเมินผลการโค้ช และ 3) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ได้แก่ ระบบสนับสนุน ทักษะการโค้ช และการติดตามดูแล ส่วนการทดลองใช้รูปแบบการโค้ชพบว่าผู้ที่หน้าที่โค้ชสามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอน ความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการบริการสุขภาพก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ผู้ใช้ระบบการโค้ชและผู้รับบริการระบบการโค้ชมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการโค้ช

           รูปแบบการโค้ชที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบหนึ่งที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานด้านบริการสุขภาพสำหรับบุคลากรจบใหม่ ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบให้สามารถใช้กับกลุ่มบุคลากรสุขภาพกลุ่มอื่นต่อไป

คำสำคัญ :  ความสามารถในการปฏิบัติงานด้านบริการสุขภาพ รูปแบบการโค้ช

*พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

**นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ


A Research and Development of Coaching Model to Enhance Health Care Service Skills

Chularat  Howharn*

Orachorn  Inthongparn**

Abstract

      The aims of this research and development were to develop a coaching model to enhance health care service skills among new nurses and to determine effectiveness of this coaching model on coaching competency, health care service skills among coachees and satisfaction toward on coaching model. The research and development procedures were employed. First was needs assessment by review literatures and in-depth interviews. Second step was developed coaching model by utilized findings from first step. Third step was the implement step and effectiveness of model was tested. A developed coaching model was tested with 27 nurses under the nurses for solving the shorted of nurses in Southern of Thailand whom were purposive selected.  Fourth step was the revising step. Findings from third step were employed for the revision of the model.

   Findings were as followed.

          The developed coaching model consisted of three components which were principles and objectives, processes, and the condition for implementation of the model. After implement the model, coaches reported that they can follow all procedures. Health care service skills among coachees were increased and statistical significant different at p<.001. All are rated satisfaction toward on coaching model at high level.

      This study shown the effectiveness of coaching model to enhance the competency and skills among new nurses. Further study is strongly suggestion in order to implement this model on other group of health care providers.

Keywords : Coaching model, Health care service skills

*Research Division, Praboroamrajchanok Institutes for Health Workforce Development

*Registered Nurse

**Academic Service Officer

Article Details

How to Cite
1.
ห้าวหาญ จ, อินทองปาน อ. การวิจัยและพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการบริการสุขภาพ,A Research and Development of Coaching Model to Enhance Health Care Service Skills. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2015 Jul. 10 [cited 2024 Mar. 29];25(1):167-7. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/36250
Section
บทความวิจัย