ผลการรับรู้ภาระในการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์

Main Article Content

อารยา พินทุเวหน
พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์
ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ

Abstract

บทคัดย่อ

              ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาการรักษาและยาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์จำนวนหนึ่งยังคงเกิดภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ซึ่งเกิดจากการมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม เพราะผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์อาจรับรู้ว่าพฤติกรรมการดูแลตนเองนั้นเป็นภาระในการดูแลตนเอง การวิจัยเชิงพรรณนา ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ภาระในการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โดยใช้กรอบแนวคิดภาระในการดูแลตนเองของโอเบิรส์ (Oberst)  กลุ่มตัวอย่างคือผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่ไม่ได้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่มารับบริการที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 96 ราย โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ระยะเวลาเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม 2557

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างอายุเฉลี่ย 43.25 ปี (S.D. = 11.4) ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีสถานภาพสมรสคู่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีระยะเวลาการติดเชื้อเอชไอวีเฉลี่ย 8.97 ปี (S.D. = 7.08) และสาเหตุการติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 85.4 มีปริมาณไวรัสในกระแสเลือด (viral load) น้อยกว่า 40 ก้อปปี้ต่อมิลลิลิตรและร้อยละ 46.9 มีระดับเม็ดเลือดขาวซีดีสี่ มากกว่า 500 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตร โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 93.75 มีความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ส่วนใหญ่ร้อยละ 79.2 มีการรับรู้ภาระในการดูแลตนเองอยู่ในระดับน้อยและพบว่าพฤติกรรมการออกกำลังกาย การวางแผนค่าใช้จ่ายและการหลีกเลี่ยงที่แออัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาสเป็นกิจกรรมที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์มีการรับรู้ภาระในการดูแลตนเองมากที่สุด

 คำสำคัญ : ภาระในการดูแลตนเอง, ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์

*วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยมหิดล

**นักศึกษาพยาบาลปริญญาโท สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

***Corresponding author, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, E-mail: poolsuk.jan@mahidol.ac.th

****ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

SELF-CARE BURDEN PERCEPTION AMONG HIV/AIDS PATIENTS*

Araya Phintwahon**

Poolsuk Janepanish Visudtibhan***

Kanitha Hanprasitkam****

Abstract

         At present, even though there are more advanced treatments and effective medication to treat HIV/AIDS, a number of HIV/AIDS patients continue to die from complications, including opportunistic infections, probably due to inappropriate or incorrect self-care behavior, which can led to perceived self-care burden.  This descriptive study aimed to  investigate self-care burden perception among HIV/AIDS patients based on the concept of self-care burden proposed by Oberst.  The study sample consisted of 96 HIV/AIDS patients, who did not have opportunistic infections, at an outpatient department, Ramathibodi hospital. The sample was recruited by means of purposive sampling, and data were collected using self-administered questionnaires. Data was collected between June and July, 2014.

            The study revealed that the mean age of the participants was 43.25 years (S.D. = 11.4).  The majority of them were male, married, and had completed elementary education.  The mean duration of HIV infection was 8.97 years (S.D. = 7.08), and the major cause of HIV infection was sexual intercourse.  In addition, most of the participants, or 85.41%, had their HIV viral load lower than 40 copies/ml3, and 46.9%, had their CD4 higher than 500 cells/ml3. Also, 93.75% of the participants had adhered to antiretroviral therapy.  The study revealed that of the participants, 79.2%, had a low level of self-care burden perception. The study also revealed that exercise, living expense management and avoidance of crowded environments were the activities having a high level of self-care burden.

Key words  : SELF-CARE BURDEN, HIV/AIDS PATIENTS

*Thesis, Master Degree of Adult Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University

**Nursing student, Master Degree of Adult Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University

*** Corresponding author, Assistant Professor, Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, E-mail: poolsuk.jan@mahidol.ac.th

****Assistant Professor, Ramathibodi Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University

 

 

 

Article Details

How to Cite
1.
พินทุเวหน อ, วิสุทธิพันธ์ พเ, หาญประสิทธิ์คำ ข. ผลการรับรู้ภาระในการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2015 Aug. 31 [cited 2024 Apr. 25];25(2):144-56. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/39514
Section
บทความวิจัย