รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์นักศึกษาภายใต้รั้วครอบครัวเดียวกัน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

Main Article Content

จิราพร วัฒนศรีสิน
จามจุรี แซ่หลู่

Abstract

บทคัดย่อ

      การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างและประเมินรูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์นักศึกษาพยาบาลภายใต้รั้วครอบครัวเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ อาจารย์ (43 คน) เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน (49 คน) และนักศึกษา (455 คน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช จำนวน 547 คน และผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 79 คน ดำเนินการระหว่างเดือนมิถุนายน 2553-เดือนกันยายน 2557 โดยแบ่งการดำเนินออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ ระยะปฏิบัติ และระยะประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม แบบบันทึก และเครื่องบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ เพื่อหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

            ผลการวิจัยนำเสนอใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1) รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์นักศึกษาพยาบาลภายใต้รั้วครอบครัวเดียวกัน ประกอบด้วยบันไดในการเสริมสร้างอัตลักษณ์ 4 ขั้น แต่ละขั้นจะดำเนินการไปตามชั้นปีของนักศึกษา ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ถึง 4 ดังนี้ ขั้นที่ 1 เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น ขั้นที่ 2 ร่วมช่วยเหลือสังคม ขั้นที่ 3 ให้บริการสุขภาพแก่สังคมภายนอก และขั้นที่ 4 มีจิตบริการ รับใช้สังคม พร้อมก้าวสู่วิชาชีพ ซึ่งกิจกรรมที่นำมาใช้ในการเสริมสร้างมีทั้งกิจกรรมในหลักสูตร เสริมหลักสูตร และตามอัธยาศัย 2) ผลของการเสริมสร้างอัตลักษณ์ นักศึกษาสะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบดังกล่าวส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีและร่วมแรงร่วมใจ ได้แบ่งปันสิ่งดีๆ สู่สังคม เปิดใจรับฟังความคิดผู้อื่น และได้ฝึกกระบวนการคิด ส่วนผู้ปกครองของนักศึกษาได้สะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบดังกล่าวช่วยให้นักศึกษามีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น พูดคุยกับผู้อื่นมากขึ้น และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองมากขึ้น สำหรับผลการประเมินอัตลักษณ์จากผู้ใช้บัณฑิต พบว่าอัตลักษณ์ของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลบัณฑิต ปีการศึกษา 2556 โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (\bar{}\bar{x}\bar{}= 4.55, S.D. = 0.12) และเมื่อพิจารณารายด้านแล้ว พบว่าด้านจิตบริการอยู่ในระดับดีมาก (\bar{}\bar{x}\bar{} = 4.62, S.D. = 0.17) การมีส่วนร่วมและสิทธิผู้ป่วยอยู่ในระดับดีมาก ( \bar{}\bar{x}\bar{} = 4.56, S.D. = 0.20) ส่วนด้านการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับดี (\bar{}\bar{x}\bar{} = 4.41, S.D. = 0.20) 3) ปัจจัยส่งเสริมและอุปสรรคในการดำเนินการ พบว่ามี 3 ประเด็นหลักๆ คือ ความอบอุ่นในครอบครัว แรงจูงใจในการทำกิจกรรม และการบริหารเวลาในการจัดกิจกรรม


Student Identity Reinforcement Model Follows to the Family of                       Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Si Thammarat

Jiraporn Wattanasrisin*

Jamjuree Saeloo*

Abstract

      This three-phase participatory action research was conducted to develop and evaluate a model of student identity fostering within the simulated family of Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Si Thammarat. The study involved collaboration among the 43 instructors, 49 supportive personnel, 455 student nurses, and 79 consumers. The project carried out the model development from June 2010 to September 2014. The data were obtained via a focus group and a questionnaire and analyzed by content analysis and descriptive statistics. 

            The results highlighted three main points that consisted of 1) a model of student identity fostering within the simulated family of Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Si Thammarat, 2) student identity, and 3) facilitating and obstacle factors. The student identity fostering model composed of 4 steps, understanding oneself and others, participating in society helping activities, providing health services to society, and inculcating service-minded and being prepared for the profession. The activities, carried out in 4 steps, included intra-curricular activities, co-curricular activities, and informal education activities. The student identity resulted from students’ reflection were developing harmony, dividing good things to society, being open-minded, and increasing thinking process practice. The student identities expressed by students’ parents were service mindedness, participation, and solving problems by themselves. The consumers expressed their perception on student identity that the service mind level and participation level were very good  ( \bar{}\bar{x}\bar{} = 4.62, S.D. = 0.17; \bar{}\bar{x}\bar{} = 4.56, S.D. = 0.20) and analytical thinking level was good  (\bar{}\bar{x}\bar{} = 4.41, S.D. = 0.20) 3). Facilitating factors were family warmth and motivation, while obstacle factor was time management.

Key word : Student Identity; Reinforcement Model; Simulated Family

*Boromarajonani College of Nursing, Nakhron Si Thammarat ; e-mail: director40@pi.ac.th

Article Details

How to Cite
1.
วัฒนศรีสิน จ, แซ่หลู่ จ. รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์นักศึกษาภายใต้รั้วครอบครัวเดียวกัน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2015 Dec. 30 [cited 2024 Mar. 29];25(3):27-42. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/47152
Section
บทความวิจัย