การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2

Main Article Content

สกล คามบุศย์
เฉลย ภูมิพันธ์
ธันยาภรณ์ พาพลงาม

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (2)  ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (3)พัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (4) ศึกษาผลการนำรูปแบบไปใช้ในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด การวิจัยนี้เป็นแบบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อการเก็บข้อมูลและกลุ่มตัวอย่างคือเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำนวน 339 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ในครั้งนี้ได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ  Krejcie และ Morgan รวมกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาระยะที่ 2 นี้ทั้งหมด  จำนวน  181  โรงเรียน และกลุ่มเป้าหมายระยะที่ 4 จำนวน 50  คนการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่นักวิชาการส่วนใหญ่ยอมรับสูงสุด คือด้านการส่งเสริมความเป็นเลิศของนักเรียน และด้านความเป็นผู้นำ รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนาครูและบุคลากร ด้านการจัดหาสื่อ อุปกรณ์และเทคโนโลยี และด้านการสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ด้านความรู้ และด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี คุณธรรม จริยธรรม และด้านวิสัยทัศน์ การประกันคุณภาพภายใน และด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์กร 2) สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า องค์ประกอบด้านการศึกษาเชิงสำรวจ (Seek : S1)  องค์ประกอบด้านการกำหนดตัวบ่งชี้เพื่อพัฒนา (Select : S2)  องค์ประกอบด้านแนวทาง/กิจกรรมการพัฒนา (Structure : S3)  องค์ประกอบด้านการดำเนินการพัฒนา (Steam : S4) องค์ประกอบด้านการเผยแพร่และสร้างเครือข่าย (Share : S5) 4) ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ด้านการพัฒนาตนเอง ก่อนการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 

 

                 This research aims (1) to study the composition of the executive leadership Basic Education (2) study the current state and the desired leadership of the management of basic education. (3) develop a model for leadership development, executive education, basic (4) the introduction of the model used to develop the leadership of the Executive under the Basic Education. This research is qualitative research methods for data collection and sample management as the ROI-ET Primary educational Service area Office 2 of 339 people the samples used in the research. This sample size was determined using a table of Krejcie and Morgan sample included a total of 181 schools Phase 2 and Phase 4 of 50 prospects selected (Purposive Sampling) results showed that 1) the leadership of school administrators basic academics. The most agree the most Is to promote the excellence of its students and its leadership, followed by the development of the school curriculum. The teachers and staff Provider of media Equipment and Technology And to create an atmosphere and environment in the field of knowledge and a good example of ethics and vision of the field of quality assurance to creating a corporate culture 2) the current leadership of the management of basic education. Primary Educational Service Area Office 2 overall ROI-ET development model leadership of school administrators found that basic. Elements of Education survey (Seek: S1) elements defining indicator for development (Select: S2) component approach / development activities (Structure: S3) component of the development (Steam: S4) component. dissemination and networking (Share: S5) 4) the study results of the development model of leadership, management of basic education. Leadership, management of basic education Office Area Elementary ROI-ET neighborhood, two areas of self-improvement before the overall development in the medium when an item found in a large number of three questions in a moderate number 3 and so on the low level of the first verse, which deals with the highest average is the second participation in academic activities such as training, seminars, conferences, etc. 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กัญญ์รัชการย์ นิลวรรณ. ( 2553). องค์ประกอบภาวะผู้นาทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ ส่งผลต่อ

ประสิทธิผลการจัดการสถานศึกษา สังกัดสานักการศึกษากรุงเทพมหานคร.

วิทยานิพนธ์ ปร.ด.(สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ).กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

กาญจนา นาคสกุล. (2545). ข้อคิดเกี่ยวกับการสอนภาษาไทย. รอบรู้ภาษาไทย เล่ม 1. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์วัฒนาพานิชสำราญราษฎร์.

เตือนใจ ดลประสิทธิ์. (2552). การพัฒนาระบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.

วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทิศนา แขมมณี. (2545). การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิป

ปา (CIPPA MODEL). รอบรู้ภาษาไทย เล่ม 1. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช สำราญราษฎร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ : สุวีริยาสาสน์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2540. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร :

สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

พรศรี ฉิมแก้ว. (2553). ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเป็นมืออาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ คศ.ด. กรุงเทพ :

บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยากร เชียงกูล. (2549). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2547/2548 รากเหง้าของปัญหา และ

แนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ : วี ที ซี คอมมิวนิเคชั่น.

ศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์. (2555). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการผ่านการเรียนรู้แบบผสมผสาน

สำหรับผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ ศศ.ด. (สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรม

ทาง การศึกษา). สงขลา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2538). วิสัยทัศน์ของผู้บริหารการศึกษา ใน ประมวลสารชุดวิชา ประสบการณ์วิชาชีพ

บัณฑิตบริหารการศึกษา เล่มที่1. หน่วยที่1. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สุรวิช แก้วอำไพ. (2544). ภาวะผู้นำทางการนิเทศของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักร

ในประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์ (กศ.ม. บริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสาน

มิตร.

สิร์ราณี วสุภัทร. (2551). ภาวะผู้นำทางวิชาการและสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผล

ต่อความสำเร็จของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2548 ). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

สุพจน์ ศรีนุตพงษ์ และ พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูที่

ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2556

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2549). คู่มือการประเมิน

คุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัทจุดทอง จำกัด.

Bruce J Avolio, Fred O Walumbwa, Todd J Weber. (2009). Leadership: Current Theories,

Research,and Future Directions. Review of medium_being_reviewed

title_of_work_reviewed_in_italics. Annual Review of Psychology, 60, 421.

Retrieved February 1, 2009, from ProQuestHealth and Medical Complete

database.

Educational Development Center. (2002). Learning for The 21st Century. Retrieved

September 20, 2006, from http:// www.21stcenturyskills. org/downloads/

P21_Report.pdf.

Muhammed Turhan. (2010). Social justice leadership: implications for roles and

responsibilities of school administrators. Procedia Social and Behavioral

Sciences 9 ; 1357–1361.

Ruffin.(2007). Design concept for optical fibers with enhanced SBS threshold. Optical Society

of America, 14 (13) Optics Express.