การบริหารสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 (NBT) ในยุคทีวีดิจิทัล กรณีศึกษา เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่ และเขต 4 จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

กิตติมา ชาญวิชัย [Kittima Chanvichai]
อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล [Orawan Sirisawat Apichayakul]
พิพัฒน์ สัสดีแพง [Pipat Satsadeepang]

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษา โครงการวิจัยสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 (NBT) บนเส้นทางการปรับเปลี่ยนในยุคทีวีดิจิทัล ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาจากเอกสาร การสังเกต และการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานจากสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 (NBT) เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่ และเขต 4 จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่า การวางแผนจัดการเนื้อหาของสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 มีสิ่งที่ต้องพิจารณาดำเนินการใน 3 เรื่องใหญ่ ๆ เพื่อให้การทำงานสามารถรองรับกับการเปลี่ยนแปลงจากระบบอนาล็อคเป็นระบบดิจิทัล คือ 1. การวางแผนการนำเสนอเนื้อหาให้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 2. การสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละเขตให้เกิดความชัดเจนในการนำเสนอเนื้อหาข่าวและรายการ 3. การบริหารจัดการเนื้อหารายการร่วมกัน ด้านวิธีการและช่องทาง การนำเสนอเนื้อหา ในปัจจุบันช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของรายการต่าง ๆ ของสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 จะประกอบด้วย 3 ช่องทาง ได้แก่ 1. การเป็นช่องดิจิทัล 1 สถานีสำหรับส่วนกลางในฐานะแม่ข่าย และการออกอากาศทางดาวเทียมสำหรับสถานีภูมิภาค 2. การเป็นช่องดิจิทัลชุมชนหรือเป็นเครือข่ายเคเบิลทีวี และ 3. การใช้สื่อใหม่ช่วยในการเผยแพร่ข่าวและรายการ สุดท้ายการพัฒนางานด้านเทคนิคให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง ควรต้องพัฒนาทั้งในแง่ของความพร้อมของเครื่องมือให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง และการต้องสามารถแข่งขันกับองค์กรสื่ออื่น ๆ ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

1. Chanthrawatthanakun, D. S. and Mahitthirook, A. (2014). Media organization and the changing media business models. In Chanthrawatthanakun, D. S. and Phoemphun, C. (Editor), Principle of Convergence Journalism (p. 42). Bangkok: Thai Journalists Association.

2. Common, B. T. (2016). Management of television in the digital convergence era. Suthiparithat Journal, 30(95), 212-222.

3. Jarintippitak, R. (2014). The digital television transition in Thailand and competition regulation. Business Administration and Economics Review, 10(2), 135-162.

4. McQuail, D. (2010). Mass communication theory (6th ed.). London: Sage.

5. The Government Public Relation Department (PRD). (2017). The planning of transition from regional satellite television broadcasting to regional digital terrestrial television broadcasting. Bangkok: Office of the Prime Minister.