นางสาว การสื่อสารเชิงกลยุทธ์ในประเด็นสาธารณะ: แนวทางการฟื้นฟู อนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน กรณีศึกษา โครงการธนาคารปูม้า ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

Main Article Content

ภารดี พึ่งสำราญ [Paradee Phuengsamran]
สุทธินันท์ โสตวิถี [Suttinun Sotwitee]
ประจวบ ลีรักษาเกียรติ [Prachuab Leeruksatiat]
ฐกร ค้าขายกิจธวัช [Thakorn Kakhaikittawat]

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ในประเด็นสาธารณะและแนวทางการฟื้นฟู อนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน กรณีศึกษา โครงการธนาคารปูม้า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ พบว่า การสื่อสารเชิงกลยุทธ์ในประเด็นสาธารณะเป็นลักษณะกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมแบบบูรณาการ วิสัยทัศน์คือ การเพิ่มทรัพยากรปูม้าให้เกิดความยั่งยืนภายในอ่าวคุ้งกระเบน ตามพันธกิจที่มุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมสร้างเครือข่ายร่วมกัน กำหนดเป้าหมายเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ การวิเคราะห์กลุ่มผู้รับสารจะพิจารณาตามพื้นที่แหล่งที่ทำประมง ใจความหลักของการสื่อสารเชิงกลยุทธ์จะใช้ข้อความที่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ชี้ให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน ใช้ปฏิบัติการลงพื้นที่ สร้างข้อตกลงร่วมกัน และกิจกรรมสาธิตเป็นช่องทางการสื่อสาร จะจัดสรรให้เฉพาะอุปกรณ์และมีบุคลากรคอยให้คำปรึกษา สำหรับแนวทางการฟื้นฟู อนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน พบว่า ศูนย์กลางหรือผู้ส่งสารจะใช้วิธีการปลูกฝังความรับผิดชอบ และสร้างจิตสำนึกต่อลูกข่ายสมาชิก แกนนำในชุมชนตามแนวทางการจัดการประมง 7 ขั้นตอน อนึ่ง โครงการธนาคารปูม้าใช้ระบบการสร้างเครือข่ายการสื่อสารเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

1. Armstrong, J. S. (1982). The value of formal planning for strategic decisions: Review of empirical research. Strategic Management Journal, 3(3), 197-211.

2. Benjarongkij, Y. (2011). Planning and evaluation for strategic communication. Bangkok: Chulalongkorn University.

3. Eakpaitoon, S. (2011). Management of social entrepreneur in Thailand: Case study Crab bank, activity of Ban Koh Teab, Pakklong sub-district Pathew district Chumpton province. Master thesis, M.B.A., Thammasat University, Bangkok.

4. Jatusripitak, N. (2018). Cabinet extends 500 crab banks across the country, get Government Savings Bank arrange area Loan growth of 2.5 billion. Retrieved March 7, 2018, form https://www.posttoday.com/finance/news/543436

5. Nitiratsuwan, T. (2010). Attitude of blue swimming crab small-scale fisher for management of blue swimming crab resource in Trang province. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF).

6. Phuengsamran, P. and Wannaprapa, S. (2015). Communications process in sufficiency economy of the Innovation diffusion local wisdom, case study Kung Krabaen by royal development study center. Journal of Business, Economics and Communications, 10(2), 40-54.

7. Prachason, S. (2009). The development of food security indicators. Retrieved March 7, 2018, form https://www.nationalhealth.or.th/sites/default/files/upload_files/dmdocs/2_FS_index_report.pdf

8. Rice, R. E. and Atkin, C. K. (1989). Public communication campaigns. Thousand Oaks: Sage Publications.

9. Rittiruk, U. (2013). Fisheries resource management. Bangkok: Odeon Store.

10. Smith, R. D. (2002). Strategic planning for public relations. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

11. Songrak, A. (2005). Process modeling and tools for marine and coastal resources management in Trang province to sustainability. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF).

12. Sotanasathien, S. (2016). Theory of communication. Bangkok: Rabiangthong.

13. Sotwitee, S., Phuengsamran, P. and Tantikulvara, R. (2018). A case study of communication situation to define the road map for restoration, conservation and enhancing food stability and sustainability in blue swimming crap sustainability project in Kung Krabaen Bay Royal development study center. NRRU Community Research Journal, 12(special), 127-141.