ผลลัพธ์ของการเรียนรู้จากการใช้ระบบช่วยเรียนเรื่องงบการเงินรวม

Main Article Content

กิตติภรณ์ ทรัพย์รุ่งวัฒนา
อุทัย ตันละมัย

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษำผลกระทบที่มีต่อผลลัพธ์กำรเรียนรู้ของระบบช่วยเรียนรู้งบกำรเงินรวมที่ผสมผสานเทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน (โน้ตบุ๊กและแท็บเล็ต) กับรูปแบบการนำเสนอโจทย์ที่แตกต่างกัน(ข้อความและจินตทัศน์) ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบช่วยเรียนรู้เรื่องงบการเงินรวมขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนหรือผู้รับการอบรมสามารถทบทวนเนื้อหาที่มีความซับซ้อน ฝึกฝนทำบทฝึกหัด และเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น

ผลจากการเก็บข้อมูลการทดลองใช้ระบบโดยนิสิตนักศึกษาจำนวน 134 คน ที่มีความรู้ด้านหลักการบัญชีและการบัญชีขั้นกลาง แต่ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับงบการเงินรวมพบว่า ผู้ที่เรียนรู้ผ่านระบบช่วยการเรียนรู้เรื่องงบการเงินรวมที่ใช้เทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์แบบโน้ตบุ๊กมีผลการเรียนรู้และความเข้าใจมากกว่าผู้ที่เรียนรู้ผ่านแท็บเล็ต แต่ผู้ที่เรียนผ่านระบบช่วยการเรียนรู้เรื่องงบการเงินรวมโดยแท็บเล็ตมีความพึงพอใจในการเรียนรู้มากกว่าผู้ที่เรียนโดยโน้ตบุ๊ก และรูปแบบการนำเสนอโจทย์ไม่มีผลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ แต่ถ้าหากรูปแบบการนำเสนอโจทย์มีความสอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้เฉพาะบุคคลของผู้เรียนจะส่งผลต่อความพึงพอใจในการเรียนรู้

 

Learning Outcomes from the Use of Computer Assisted Learning on Consolidated Financial Statements

A quasi- experiment was carried out to study the effects on users’ learning outcomes from a computer-assisted learning application for consolidated financial statement subject that combines two different interactive technologies (notebook and tablet) with two exercise question presentations (text and visual). The researchers developed the Consolidated Financial Statements Learning System (CFSLS) that allowed students and trainees to effectively review this complex subject matter, practice doing exercises, and learn by themselves.

The data were collected from 134 students who had taken Principles of Accounting and Intermediate Accounting courses but did not know about consolidated financial statements. The study results showed that students who used notebooks as interactive technology for learning received better learning scores and testing scores than those who used tablets for learning. However, students who used tablets for learning projected a higher level of satisfaction than those who used notebooks for learning. In terms of the format of presenting exercise questions, the results indicated no significant differences between text-based and visual-based formats. However, the presentation formats that fit the participants’ learning style affected their learning satisfaction.

 

DOI: http://dx.doi.org/10.14456/becj.2015.18

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

กิตติภรณ์ ทรัพย์รุ่งวัฒนา และอุทัย ตันละมัย. (2558). ผลลัพธ์ของการเรียนรู้จากการใช้ระบบช่วยเรียนเรื่องงบการเงินรวม. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 10(2), 65-82.