การพยากรณ์การกำกับดูแลกิจการกับมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยใช้ระบบชำนาญการ

Main Article Content

พิทักษ์ บุญนุ่น [Pituk Bunnoon]
พัชรินทร์ บุญนุ่น [Patcharin Bunnoon]

บทคัดย่อ

การพยากรณ์การกำกับดูแลกิจการกับมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งใช้ระบบชำนาญการ โดยจัดเก็บข้อมูลจากงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยแยกเป็นกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ตามการซื้อขายหลักทรัพย์ ในช่วง ปี 2554-2558 ยกเว้นกลุ่มธุรกิจการเงิน กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง กลุ่มทรัพยากร และกลุ่มการแพทย์ การพยากรณ์นี้อาศัยการนำเอาระบบที่จัดให้มีโครงสร้าง และกระบวนการที่มีความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการฝ่ายจัดการ และผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงความสามารถในการแข่งขันที่จะนำไปสู่ความเจริญเติบโตที่จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายของกิจการตลอดจนแสดงถึงความสัมพันธ์ถึงมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ที่จะสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการลงทุนทางการเงินเพื่อสร้างมูลค่าสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้นและมูลค่ากิจการในอนาคต โดยการวิจัยจะทำการวิเคราะห์ตัวแปรทุกตัวแปรที่มีผลเกี่ยวข้องกันกับค่าที่ต้องการพยากรณ์โดยวิธีการทางสถิติ และการพยากรณ์ที่นำมาใช้คือโครงข่ายประสาทเทียมแบบแพร่กลับมาเป็นอัลกอริทึมสำหรับการทำนาย ผลการพยากรณ์โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม โดยกำหนดให้มี 4 อินพุต และ 6 อินพุต โดยในการพยากรณ์ได้กำหนดไว้ว่าหากค่าที่ทำนายได้มีค่าอยู่ในช่วง 0-0.499 ให้คำตอบเป็น 0 และหากค่าที่ได้มีค่าในช่วง 0.5-1.00 ให้คำตอบที่ได้มีค่าเป็น 1.00 ผลที่ได้จากการทดสอบจะได้ค่าความแม่นยำมากกว่าร้อยละ 60 ที่จะนำไปสู่คำตอบที่ต้องการ โดยการทำงานได้มาจากการฝึกสอนข้อมูลในอดีตและพยากรณ์ในช่วงปี 2558 เพื่อดูค่าความแม่นยำ งานวิจัยสามารถพัฒนาเพื่อให้ผลการพยากรณ์มีความแม่นยำมากขึ้นต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

1. Al-Fayoumi, N., Abuzayed, B. and Alexander, D. (2010). Ownership structure and earnings management in emerging markets: The case of Jordan. International Research Journal of Finance and Economics, 38 (April 2010), 28-47.

2. Aman, H. and Nguyen, P. (2008). Do stock prices reflect the corporate governance quality of Japanese firms?. Journal of the Japanese and International Economies, 22(4), 647-662.

3. Amirov, A., Gerget, O., Devjatyh, D. and Gazaliev, A. (2014). Medical data processing system based on neural network and genetic algorithm. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 131(May 2014), 149-155.

4. Brown, L. D. and Lee, Y. J. (2010). The relation between corporate governance and CEOs’ equity grants. Journal of Accounting Public Policy, 29(6), 533-558.

5. Jensen, M. C. and Meckling, W. H. (1976). Theory of the firm: Managerial behavior, agency costs and ownership structure. Journal of Financial Economics, 3(4), 305-360.

6. Jones, J. J. (1991). Earning management during import relief investigations. Journal of Accounting Research, 29(2), 193-228.

7. Omoteso, K. (2012). The application of artificial intelligence in auditing: Looking back to the future. Expert Systems with Applications, 39(9), 8490-8495.

8. Saengsai, J. (2017). The impact of business merger to the firm performance on the listed companies in the Stock Exchange in Thailand. Journal of Business, Economics and Communications, 12(1), 137-149.

9. Shan, Y. G. (2015). Value relevance, earnings management and corporate governance in China. Emerging Markets Review, 23(June 2015), 186-207.

10. Sutton, S. G., Holt, M. and Arnold, V. (2016). The reports of my death are greatly exaggerated–Artificial intelligence research in accounting. International Journal of Accounting Information Systems, 22(September 2016), 60-73.

11. Wang, D. (2006). Founding family ownership and earnings quality. Journal of Accounting Research, 44(3), 619-656.

12. Wang, K. T. and Shailer, G. (2017). Family ownership and financial performance relations in emerging markets. International Review of Economics and Finance, 51(September 2017), 82-98.