ผลการทำกายบริหารแบบมณีเวชต่อการทรงตัว ความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของผู้สูงอายุ

Main Article Content

วีระยุทธ แก้วโมกข์

บทคัดย่อ

บทนำ ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงเรื่องการหกล้มและอุบัติเหตุรุนแรงต่างๆ เพิ่มขึ้น รูปแบบการออกกำลังกายที่
เหมาะสมสามารถเพิ่มความยืดหยุ่น การทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพื่อป้องกันการหกล้มและอุบัติเหตุ
รุนแรงต่างๆ จึงได้ทำการศึกษาการทำกายบริหารแบบมณีเวช
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการทำกายบริหารแบบมณีเวชต่อการทรงตัว ความยืดหยุ่น ความแข็งแรงของ
กล้ามเนื้อ ในกลุ่มผู้สูงอายุ
รูปแบบการวิจัย การศึกษาการวิจัยกึ่งทดลอง
สถานที่ทำการวิจัย หน่วยงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลขุนหาญ
กลุ่มตัวอย่าง ผู้สูงอายุ สุขภาพดี ที่อาศัยอยู่ในชุมชนและไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำเป็นเวลา 3 เดือนจำนวน
30 คน
วิธีการศึกษา ผู้สูงอายุได้รับการสอนและฝึกการทำกายบริหารแบบมณีเวชจากวิทยากรเป็นเวลา 1 วัน หลังจากนั้น
ให้ฝึกต่อที่บ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ก่อนและหลังจากฝึกกายบริหารแบบมณีเวชครบ
3 เดือน ผู้สูงอายุได้รับการวัด ความยืดหยุ่น สมดุลการทรงตัว ความแข็งแรงของแรงกำมือและกล้ามเนื้อเหยียดเข่า
ผลการการศึกษา ผู้สูงอายุชาย 16 คนและหญิง 14 คน อายุเฉลี่ย 67 ปี ทุกคนออกกำลังกายจนครบ 6 สัปดาห์
โดย 22 คน จาก 30 คนนี้ ทำกายบริหารสม่ำเสมออย่างน้อย 4 ครั้ง/สัปดาห์ เมื่อใช้ข้อมูลเปรียบเทียบก่อนและ
หลังการฝึก 6 สัปดาห์ การทรงตัว (time up & go test : p=0.000, functional reach test : p=0.024) ความ
ยืดหยุ่น (back scratch test : p=0.007, chair sit and reach test : p=0.005) ความแข็งแรงของกล้ามเนี้อ
กำมือ (grip strength : p=0.01) ดีขึ้นกว่าก่อนฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความแตกต่างของความ
แข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่า
สรุป การทำกายบริหารแบบมณีเวช สามารถเพิ่มสมดุลการทรงตัว ความยืดหยุ่น และความแข็งแรง
ของกล้ามเนื้อกำมือ แต่ไม่มีผลต่อความแข็งแรงกล้ามเนื้อเหยียดเข่า

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Singh M. Physical fitness and exercise. In:
path MSJ, Sinclaim A, Morley JE, editors.
Principle and practice of geriatric medicine,
4thed. West Sussex: John Wiley & Sons;
2006. p.122-38.

2. Durnin A. Womersley J. Body fat assessed
from total body density and its estimation
from skin fold thickness measurements on
481 men & women aged from 16 to 70
years. Br J Nurtr 1974; 32: 77-97.

3. Tideiksaar R. Falls. In: Bonder BR, Wagner
MB, editor. Functional performance in older
adults. 1sted. Philadephia: Davis, 1994: 224-
37.

4. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการ
เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายของประชากร พ.ศ.
2554.

5. วิทวัส สิทธิวัชรพงศ์, วิจิตร บุณยะโหตระ.
ประสิทธิผลของการบริหารร่างกายแบบมณีเวช
เพื่อลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการทำงาน
ในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 19
สิงหาคม 2558 จากเว็บไซต์ http://www.mfu.
ac.th/school/anti-ging/File_PDF/research56/
Proceeding56_39.pdf

6. นภดล นิงสานนท์. มณีเวช...เพื่อชีวิตง่ายๆสบายๆ.
วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 2554; 3(5): 1-13.

7. วิชนี จั่นมุกดา, ปิยะภัทร เดชพระธรรม. ผลการออก
กำลังกายด้วยการรำไม้พลองป้าบุญมีแบบประยุกต์
ต่อการทรงตัว ความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของ
กล้ามเนื้อของผู้สูงอายุ. เวชศาสตร์ฟื้นฟู 2551;
18(2): 59-64.

8. พยุงศรี อุทัยรัตน์. ผลของโปรแกรมการจัดการ
กับอาการด้วยการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย
ต่ออาการปวดหลังส่วนล่างของผู้ที่ปวดหลังส่วน
ล่างเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหา
บัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์. จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 2552.

9. ปกรณ์ นาระคล, ธวัชชัย เทียมกลาง. ผลของการ
ใช้การจัดกระดูกโดยวิธีมณีเวชร่วมรักษาภาวะการ
กดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือโดยวิธีอนุรักษ์.
ศรีนครินทร์เวชสาร 2557; 29(6): 535-541.

10. สมศักดิ์ วัฒนศรี. “การฝึกปฏิบัติมณีเวช”. ใน
โครงการบุคลากร มสธ.หนุ่มสาวกว่าวัย หัวใจดี
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช 2553.

11. นภดล นิงสานนท์. มณีเวชเพื่อชีวิตง่ายๆ สบายๆ.
เรียบเรียงจากคำสอนและแนวทางปฏิบัติของท่าน
อาจารย์ประสิทธิ์ มณีจิระประการ. สืบค้นเมื่อ
วันที่ 19 สิงหาคม 2558 จากเว็บไซต์ http://
boardpalungjit.com