การเปรียบเทียบผลของสารตกค้างจากน้ำยาทำความสะอาดต่อการทดสอบเชื้อจุลินทรีย์

Main Article Content

เมธี ศรีประพันธ์
นันทวรรณ จินากุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ เปรียบเทียบผลของสารตกค้างจากน้ำยาทำความสะอาดเครื่องแก้วชนิดต่างๆ รวมถึงศึกษาวิธีการล้างเครื่องแก้วที่ส่งผลต่อการทดสอบเชื้อจุลินทรีย์ในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา


วิธีการศึกษา ใช้ตัวอย่างน้ำยาทดสอบได้แก่ 1) น้ำยาล้างเครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการที่มีความเข้มข้น 2.0% (ชนิด A) ซึ่งมีส่วนผสมของ polyethylene glycol dodecyl และ ethylene oxide  2) น้ำยาล้างจานที่มีความเข้มข้น 2.0% (ชนิด B) ซึ่งมีส่วนผสมของ linear alkylbenzene sulfonate,  potassium salt และ sodium lauryl ether sulfate และ 3) ผงซักฟอก ที่มีความเข้มข้น 0.05% (ชนิด C) ซึ่งมีส่วนผสมของ anionic surfactant, zeolite, sodium carbonate, sodium carboxymethyl และ cellulose  ทดสอบวิธีการล้างกับจานเพาะเชื้อ (glass petri dishes) โดยมีวิธีการล้าง 5 วิธี ได้แก่ ไม่ล้างน้ำยาออก, ล้างผ่านน้ำสะอาด 1 ครั้ง, ล้างผ่านน้ำสะอาด 3 ครั้ง, ล้างผ่านน้ำสะอาด 6 ครั้ง  และล้างผ่านน้ำสะอาด 12 ครั้ง โดย    ใช้ sterile glass petri dishes เป็นกลุ่มควบคุม ทดสอบความเป็นกรด-ด่างของสารตกค้างจากน้ำยาในวิธีการล้างแบบต่างๆ โดยใช้ 0.04 % Bromthymol blue นอกจากนี้ใช้เชื้อมาตรฐาน 50-100 CFU / mL Staphylococcus aureus (ATCC 6538) เพื่อศึกษาการเจริญของเชื้อโดยวิธี Pour plate method จากนั้นรายงานจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ (CFU/mL) เป็นค่าเฉลี่ยของจำนวนแบคทีเรียและค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Mean ± SEM) วิเคราะห์เชิงสถิติโดยใช้โปรแกรม IBM® SPSS® version 23  หรือ GraphPad Prism® version 6.01 โดยค่า p <0.05 แสดงนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95%


ผลการศึกษา น้ำยาชนิด A มีคุณสมบัติเป็นด่างและเปลี่ยนเป็นกลางหลังการล้าง 3 ครั้งในขณะที่น้ำยาชนิด B มีคุณสมบัติเป็นกรดและเปลี่ยนเป็นกลางภายหลังการล้าง 3 ครั้ง และน้ำยาชนิด C มีคุณสมบัติเป็นด่างและเปลี่ยนเป็นกลางเมื่อล้าง 6 ครั้ง น้ำยาทั้ง 3 ชนิดส่งผลต่อการเจริญของเชื้อ S. aureus ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ในทุกวิธีการล้างยกเว้นเมื่อล้างด้วยน้ำสะอาด 12 ครั้ง การใช้น้ำยาชนิด A และ B ให้ผลการเจริญของ S. aureus ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p > 0.05) ภายหลังการล้างอย่างน้อย 3 ครั้งในขณะที่การใช้น้ำยาชนิด C เทียบกับน้ำยาชนิด A หรือ B ให้ผลการเจริญของเชื้อไม่แตกต่างกันเมื่อล้าง 12 ครั้ง เมื่อพิจารณาจำนวนครั้งของการล้างด้วยน้ำสะอาดในน้ำยาแต่ละชนิดที่ส่งผลต่อการเจริญของเชื้อน้อยที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) จำนวนครั้งที่เหมาะสมเมื่อใช้ น้ำยาชนิด A คือควรล้าง 3-12 ครั้ง เมื่อใช้น้ำยาชนิด B ควรล้าง 6-12 ครั้ง และถ้าใช้น้ำยาชนิด C ควรล้าง 12 ครั้ง


สรุป น้ำยาทำความสะอาดเครื่องแก้วแต่ละชนิดมีคุณสมบัติความเป็นกรด-ด่างที่แตกต่างกัน การล้างด้วยน้ำสะอาดสามารถลดความเป็นกรด-ด่างของน้ำยาที่ตกค้างในเครื่องแก้วได้ นอกจากนี้ความแตกต่างของชนิดน้ำยาทำความสะอาดและวิธีการล้างส่งผลต่อการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยวิธีการล้างที่เหมาะสมคือ ถ้าใช้น้ำยาชนิด A ควรล้างอย่างน้อย 3 ครั้ง เมื่อใช้น้ำยาชนิด B ควรล้างอย่างน้อย 6 ครั้ง และ เมื่อใช้น้ำยาชนิด C ควรล้างอย่างน้อย 12 ครั้ง ตามลำดับ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. รวิวรรณ อาจสำอาง. การประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบทางจุลชีววิทยา ตอนที่ 2: ข้อแนะนำสำหรับการควบคุมคุณภาพภายในห้องปฏิบัติการ : บุคลากร สิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องมือ และอุปกรณ์ วัสดุที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ. วารสารออนไลน์สำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ. 2554; 21: 2-8.
2. Polonini HC, Grossi LN, Ferreira AO, Brandão MAF. Development of a standardized procedure for cleaning glass apparatus in analytical laboratories. Journal of Basic and Applied Pharmaceutical Sciences. 2011; 32(1) :133-136.
3. World Health Organization. Glassware and plasticware. [Internet]. [Accessed: Aug 7, 2018]. Available from: https://www.who.int/water sanitation_health/resourcesquality/
wqmchap10.pdf.
4. San Diego County Public Health Laboratory. Water Microbiology Quality Assurance Manual. [Internet]. [Accessed: Aug 10, 2018]. Available from: https://www.waterboards.ca.gov/water_issues/programs/tmdl/records/region_9/2006/ref2714.pdf.
5. Sandle T, Satyada R. Determination of the cleaning efficiency for glassware in the pharmaceutical microbiology laboratory. European Journal of Parenteral & Pharmaceutical Sciences. 2016; 21(1): 16-22.
6. The United States Pharmacopeia. USP 42: NF36 The United Srates Pharmacopeia. Rockville, MD, USA: The United States Phramacopeial convention; 2019.
7. British Pharmacopeia. British Pharmacopeia Volume V. London, UK: The Stationery Office; 2019.
8. Department of Medical Sciences: Ministry of Public Health. Thai Pharmacopoeia II, Volume 1, Part 1. Bangkok, Thailand: Office of National Buddishm Press; 2018.
9. Kahl BC, Becker K, Löffler B. Clinical significance and pathogenesis of staphylococcal small colony variants in persistent infections. Clinical microbiology reviews. 2016; 29(2): 401-27.
10. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.78-2549. ผงซักฟอก. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม; 2550.
11. อารัมภ์รัตน์ รัชดานุรักษ์. มาตรฐานผงซักฟอกกับการพัฒนาผงซักฟอก. สมอ สาร. 2548; 31: 6-7.