บทบาทพยาบาลในการป้องกันและจัดการความเครียด

Main Article Content

พรพรรณ ศรีโสภา

บทคัดย่อ

ความเครียดเป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน ความหมายของความเครียดตามแนวคิดตะวันตกมอง
ว่าเมื่อบุคคลเผชิญกับสิ่งเร้าหรือเหตุการณ์ในชีวิตจะก่อให้เกิดการสูญเสียความสมดุลทั้งทางร่างกายและจิตใจ ใน
ขณะที่แนวคิดตะวันออกมองว่าความเครียดเกิดจากความทุกข์ที่เกิดจากสิ่งเร้าจากภายนอก การปรุงแต่งภายใน
จิตใจและความคิดของบุคคล ก่อให้เกิดความไม่สบายใจ ขาดความสุขและความสงบภายในจิตใจ ซึ่งสาเหตุของ
ความเครียดส่วนใหญ่เกิดจาก ปัจจัยทางชีวภาพ ปัจจัยทางด้านจิตใจ และปัจจัยทางด้านสังคมวัฒนธรรม ส่ง
ผลกระตุ้นให้บุคคลเกิดปฏิกิริยาการตอบสนองต่อความเครียด ทั้งทางร่างกาย ความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และ
สังคม ที่แตกต่างกัน หากบุคคลสามารถปรับตัวหรือเผชิญกับสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความเครียดได้ บุคคลนั้นก็จะกลับ
คืนสู่ภาวะสมดุลอีกครั้งทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่หากไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้จะส่งผลให้บุคคลได้
รับอันตรายจากความเครียด ดังนั้น บุคคลากรทางสุขภาพจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้และสามารถประยุกต์
การจัดการกับความเครียดที่เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละบุคคลได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่ก่อ
ให้เกิดความเครียดของบุคคลกับสิ่งแวดล้อม ลดปฏิกิริยาการตอบสนองต่อความเครียด และพัฒนาทักษะการ
จัดการกับปัญหา

Article Details

บท
บทความปริทัศน์หรือการทบทวนวรรณกรรม

References

1. Rice, V.H. Theories of Stress and Its
Relationship to Health. In: R.V.Hill, Editor.
Handbook of Stress, Coping, and Health.
2nded. Los Angeles: SAGE; 2012.

2. ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี. ทุกข์ในพระพุทธศาสนา:
ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎกอรรถกถาฎีกาตลอด
จนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา. โครงการธรรมศึกษา
วิจัยมหาบัณฑิตพุทธศาสนามหาวิทยาลัยมหามกุฏ
ราชวิทยาลัย; 2550.

3. พระมหาศิริวัฒน์ อริยเมธี (จันต๊ะ). วิเคราะห์แนวคิด
เศรษฐกิจพอเพียง จากมุมมองของพระพุทธศาสนา.
พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์;
2549.

4. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.
นานาคำถาม เกี่ยวกับปรัชญญาเศรษฐกิจพอเพียง.
กรุงเทพฯ: กลุ่มงานเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง
ชาติ; 2549.

5. Stuart GW. Principles and Practice of
Psychiatric Nursing. 10thed. St. Louis: Elsevie;
2013.

6. พจนา ปิยะปกรณ์ชัย. การตอบสนองของบุคคลต่อ
ภาวะเครียด. นนทบุรี: ธนาเพลส; 2552.

7. ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์ และคณะ. พยาธิสรีรวิทยา
ทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: ภาค
วิชาการพยาบาลรากฐาน คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.

8. มรรยาท รุจิวิทย์. การจัดการความเครียดเพื่อ
สร้างเสริมสุขภาพจิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2556.

9. Concordia University. (2014). Stress
Management: A Practical Guide [Internet].
2014 [accessed July 22, 2014]. Available
from: http://www.concordia.ca/content/
dam/concordia/services/health

10. Boyd MA. Psychiatric Nursing: Contemporary
Practice. 5thed. China: Lippincott and
Wilkins; 2012.