สถานการณ์การป้องกันการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า

สถานการณ์การป้องกันการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า

ผู้แต่ง

  • Nipat Chaiprasertsud โรงพยาบาลชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ 67150

คำสำคัญ:

สถานการณ์, การป้องกันการฆ่าตัวตาย, ผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า

บทคัดย่อ

ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาสำคัญทางสุขภาพจิตที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ
สถานการณ์การป้องกันการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า โดยศึกษาจากบุคคล 4 กลุ่มที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
กลุ่มผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า กลุ่มสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า กลุ่มทีมงานสุขภาพจิตและจิตเวช และกลุ่ม
เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่ละกลุ่มใช้ตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวนกลุ่มละ
17 คน โดยกลุ่มผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า คือ ผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าของโรงพยาบาลชนแดน
จังหวัดเพชรบูรณ์ ปีพ.ศ. 2558 อายุ 18 ปี ขึ้นไป ประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยแบบสอบถามสุขภาพ 9 (PHQ-9)
ได้คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 7 การรับรู้ดี ไม่มีอาการทางจิต สามารถสื่อสาร อ่านและเขียนภาษาไทยได้ ผลการวิจัย
พบว่า กลุ่มผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าทุกคนทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง ผู้ป่วยร้อยละ 94.1 มีความประสงค์เข้าร่วม
กิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้น ชอบเข้าร่วมงานสังคม ทำบุญ มีความคิดว่าการฆ่าตัวตายเป็นบาป และมีความประสงค์ให้
ทีมงานสุขภาพจิตและจิตเวชโรงพยาบาลชนแดนและเครือข่ายบริการสุขภาพไปเยี่ยมบ่อยๆ ผู้ป่วยร้อยละ 88.2
มีกิจกรรมร่วมกับสมาชิกในครอบครัว แก้ไขปัญหาโดยปรึกษาลูก พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง และเพื่อน ผู้ป่วยร้อยละ 82.3
มีความเครียดจากความกังวลเกี่ยวกับลูกหลาน คลายเครียดด้วยการดูหนัง ดูโทรทัศน์ ฟังเพลง ทำสวน ออกกำลังกาย
และสวดมนต์ไหว้พระ ผู้ป่วยร้อยละ 76.5 พอใจความเป็นอยู่ปัจจุบัน รู้สึกชีวิตมีคุณค่า เป็นที่รักของลูกหลาน สมาชิก
ในครอบครัวของผู้ป่วยทุกรายทราบว่าภาวะซึมเศร้าสามารถนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ต้องการให้ทีมงานสุขภาพจิต
และจิตเวช โรงพยาบาลชนแดนและเจ้าหน้าที่เครือข่ายบริการสุขภาพเดินทางไปเยี่ยมผู้ป่วยบ่อยๆ สรุป คือ ทั้งผู้ป่วย
ภาวะซึมเศร้าและผู้เกี่ยวข้องมีความตระหนักถึงการป้องกันการฆ่าตัวตาย บุคลากรและเครือข่ายมีความพร้อมในการ
ให้ความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-11-29