การทวนสอบการคำนวณปริมาณรังสีอิเล็กตรอนของเครื่องวางแผนรังสีรักษา ที่ใช้อัลกอริทึมมอนติ คาร์โล

ผู้แต่ง

  • Thanyaporn Phochot หน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
  • Somvilai Chakrabandhu หน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
  • Somsak Wanwilairat หน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ภาควิชารังสีวิทยาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

คำสำคัญ:

อัลกอริทึมมอนติ คาร์โล, รังสีอีเล็กตรอน, การวัดปริมาณรังสี

บทคัดย่อ

ประสิทธิภาพของการรักษาส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการคำนวณปริมาณรังสี ควรมีการประเมินความถูกต้องของการคำนวณ ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ก่อนนำไปใช้งานในทางคลินิก วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อทวนสอบการคำนวณปริมาณรังสี อิเล็กตรอนของเครื่องวางแผนรังสีรักษาที่ใช้อัลกอริทึมแบบมอนติ คาร์โล (Monte Carlo VMC++) ที่ระยะ Dmax, R90และ R50  ใช้ลักษณะพื้นที่รังสีที่อ้างอิงจาก AAPM TG 53 โดยแบ่งเป็น 7 ลักษณะ คือ standard SSD, extended SSD, irregular field,  irregular surface 30 ํslope, irregular surface 90 ํ step, internal heterogeneity และ adjacent beams การศึกษา ทำการเปรียบเทียบ 2 แบบ ได้แก่การเปรียบเทียบร้อยละความแตกต่างระหว่างการคำนวณกับการวัดปริมาณรังสีแบบจุดบริเวณจุด กึ่งกลางลำรังสี ด้วยหัววัดรังสีแบบประจุแตกตัวในน้ำ และการเปรียบเทียบการกระจายปริมาณรังสีสัมพัทธ์ ด้วยหัววัดเรียงตัวแบบระนาบในวัสดุสมมูลเนื้อเยื่อ ใช้เกณฑ์ที่อ้างอิงจากการศึกษาของ Van Dyk เพื่อประเมินผลความถูกต้อง ผลการเปรียบเทียบการ คำนวณปริมาณรังสีแบบจุด ระหว่างการวัดและการคำนวณ ในพื้นที่รังสี standard SSD และ extended SSD มีค่าความแตกต่าง อยู่ระหว่าง -1.5% ถึง 0.5% พื้นที่รังสี Irregular field มีค่าความแตกต่างอยู่ระหว่าง -0.1% ถึง 2.8% การกระจายปริมาณรังสี สัมพัทธ์ กำหนดค่าดัชนีแกมมา 4%/4 มม. พบอัตราผ่านแกมมา 100% ในทุกพื้นที่รังสี ค่าความแตกต่างเฉลี่ยของปริมาณรังสี ทั้งหมด และการคำนวณปริมาณรังสีอิเล็กตรอนของเครื่องวางแผนรังสีรักษามีความถูกต้องที่ดีมาก ผ่านเกณฑ์ที่ยอมรับของ Van  Dyk สามารถนำไปใช้วางแผนรังสีรักษาอิเล็กตรอนในทางคลินิกได้ 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-23