ประสิทธิผลของการใช้อุปกรณ์ประคองข้อมือรักษาการกดทับเส้นประสาทมีเดียน บริเวณข้อมือ

ผู้แต่ง

  • Adisak Tanpun
  • Ekkapot Jitpun
  • Tipyarat Saringcarinkul
  • Teera Tangviriyapaiboon

คำสำคัญ:

โรคกดทับเส้นประสาทมีเดียนบริเวณข้อมือ, อุปกรณ์ประคองข้อมือ, การรักษา

บทคัดย่อ

โรคกดทับเส้นประสาทมีเดียนบริเวณข้อมือ (carpal tunnel syndrome) เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มโรคเส้นประสาทส่วน ปลายถูกกดทับ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้อุปกรณ์ประคองข้อมือ (wrist splint) ในกลุ่มผู้ป่วยโรค กดทับเส้นประสาทมีเดียนบริเวณข้อมือ การศึกษานี้เริ่มตั้งแต่ กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ถึง เมษายน พ.ศ. 2560 ที่แผนกผู้ป่วยนอก  สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ผู้ป่วยทั้งหมด 106 ราย ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกดทับเส้น ประสาทที่ข้อมือ ผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับการตรวจวินิจฉัยและยืนยันผลด้วยการตรวจชักนำกระแสประสาทด้วยไฟฟ้า (nerve  conduction study) หลังจากได้รับการยืนยันผล ผู้ป่วยถูกแบ่งโดยการสุ่มเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง 51 ราย ผู้ป่วยได้รับอุปกรณ์ ประคองและสวมใส่เพื่อการรักษา และกลุ่มควบคุม 55 ราย ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยา ระหว่างการรักษาผู้ป่วยได้รับการประเมิน ผลในระยะก่อนการรักษา และ 6 เดือนหลังการรักษา ผลลัพธ์หลักวัดโดยคะแนนจากแบบสอบถาม Thai Version Boston Carpal Tunnel Questionnaire (BCTQ) และผลลัพธ์รองวัดโดยผลการตรวจชักนำกระแสประสาทด้วยไฟฟ้า และวัดระดับความรุนแรง ตามการจำแนกทางความรุนแรงการชักนำกระแสประสาท (neurophysiological classification) เมื่อสิ้นสุดการศึกษาได้ประเมิน ติดตามผลการรักษาที่ 6 เดือน พบว่าทั้งสองกลุ่มมีระดับความรุนแรงของอาการจากประเมินคะแนนแบบสอบถาม BCTQ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (กลุ่มทดลอง จาก 3.4 เหลือ 2.8; p < 0.001 และกลุ่มควบคุม จาก 3.0 เหลือ 2.4; p < 0.001) การตรวจการชักนำ กระแสประสาท ด้วยไฟฟ้าความรุนแรงของโรคลดลงไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดส่วนใหญ่อยู่ใน
กลุ่มควบคุมที่รักษาด้วยยามีจำนวน 8 ราย ซึ่งจำนวนมากกว่ากลุ่มทดลองที่รักษาด้วยอุปกรณ์ประคองข้อมือซึ่งได้รับการผ่าตัดเพียง 1 รายเท่านั้น (p = 0.032) จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการรักษาทั้งแบบใช้อุปกรณ์ประคองมือ และการรักษาแบบด้วยยา มีประสิทธิผลในการลดระดับความรุนแรงและบรรเทาอาการจากโรคได้ และที่สำคัญพบว่าการสวมใส่อุปกรณ์ประคองมือสามารถลดอัตราการผ่าตัดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Author Biographies

Adisak Tanpun

กลุ่มงานประสาทศัลยกรรม สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กทม. 10400

Ekkapot Jitpun

กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพฯ 10400

Tipyarat Saringcarinkul

กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพฯ 10400

Teera Tangviriyapaiboon

กลุ่มงานประสาทศัลยกรรม สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กทม. 10400

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-18