ประสิทธิภาพของนวัตกรรมหมอนนอนคว่ำเพื่อทำหัตถการทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู

ผู้แต่ง

  • Nitsara Pattapong กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

นวัตกรรมหมอนนอนคว่ำ, หัตถการทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู, ลงเข็มคลายจุดปวด, ฝังเข็มการปักเข็มเพื่อตรวจ, ไฟฟ้าวินิจฉัย

บทคัดย่อ

หัตถการทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูบางชนิดผู้ป่วยควรอยู่ในท่านอนคว่ำ ผู้วิจัยจึงประดิษฐ์นวัตกรรมหมอนนอนคว่ำ ขึ้น และศึกษาโดยวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลังเทียบกับหมอนปกติกลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่มา รับบริการลงเข็มคลายจุดปวดฝังเข็ม รวมถึงการปักเข็มเพื่อตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย บริเวณกล้ามเนื้อคอ บ่า สะบัก หลัง และสะโพกในท่านอนคว่ำ ที่แผนกเวชกรรมฟื้นฟูโรงพยาบาลพุทธชินราชจำนวน 50 คนตั้งแต่เดือนธันวาคม 2560 ถึงมีนาคม 2561โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือผู้ป่วยที่นอนคว่ำด้วยหมอนปกติก่อนนวัตกรรม หมอนนอนคว่ำ กลุ่มที่ 2 คือผู้ป่วยที่นอนคว่ำด้วยนวัตกรรมหมอนนอนคว่ำก่อนหมอนปกติเปรียบเทียบความ แตกต่างระหว่าง 2 กลุ่ม ก่อนและหลังการรักษาโดยใช้สถิติ Paired-Samples T-Test และ Independent T-Test ผลการเปรียบเทียบระดับความปวด (VAS) พบว่าผู้ป่วยที่นอนคว่ำด้วยนวัตกรรมหมอนนอนคว่ำมีระดับความปวด ลดลงกว่าหมอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ในการประเมินประสิทธิภาพพบว่านวัตกรรมหมอน นอนคว่ำมีประสิทธิภาพดีกว่าหมอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในด้านความมั่นคงแข็งแรง (p = 0.032) ความสะดวก (p = 0.015) ความสุขสบาย (p = 0.049) ความรู้สึกผ่อนคลาย (p = 0.025), ความปลอดภัย (p = 0.017) และลดคลื่นรบกวนขณะตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย (p = 0.032) นวัตกรรมหมอนอนคว่ำเป็นทางเลือกที่ดีในการทำหัตถการ ทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-20