ผลลัพธ์การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับบริหารจัดการคลินิกวาร์ฟาริน

ผู้แต่ง

  • Sathaporn Manee กลุ่มงานการแพทย์ โรงพยาบาลเขมราฐอุบลราชธานี 34170
  • Nushkarnda Manee กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเขมราฐอุบลราชธานี 34170

คำสำคัญ:

คลินิกวาร์ฟาริน, ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ, ระบบคอมพิวเตอรเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิ, ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิก, ระยะเวลาที่ค่า INR อยู่ในระดับเป็าหมาย

บทคัดย่อ

ยาวาร์ฟารินเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดกินที่ใช้มากที่สุด การใช้ยานี้ให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยจำเป็นต้องตรวจค่า การแข็งตัวของเลือดและปรับขนาดยาเป็นระยะ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศในการลดขั้นตอน ลดระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วย ทำรายงานตัวชี้วัด ตลอดจนผลลัพธ์ทางคลินิก ในผู้ป่วยที่ได้ยาวาร์ฟาริน ที่โรงพยาบาลเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี การศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะก่อนการพัฒนาระบบสารเทคโนโลยี สนเทศเพื่อการบริหารจัดการคลินิกวาร์ฟาริน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2558 และระยะหลังการพัฒนา ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบเบ็ดเสร็จโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์เอกเซล ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2559 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถลดการจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลผู้ป่วย ลดขั้นตอนการคำนวณการปรับขนาดยาวาร์ฟารินจาก 5 ขั้นตอนเหลือ 2 ขั้นตอน ทำให้เกิดแบบแผนในการปรับยาที่เป็นมาตรฐาน และลดภาระงานในการจัดทำรายงานตัวชี้วัด  ส่วนด้านผลลัพธ์ทางคลินิกพบว่าจำนวนผู้ป่วยที่มีค่าการแข็งตัวของเลือด (International Normalized Ratio:INR) ที่อยู่ในระดับเป้าหมาย เพิ่มขึ้นจาก 36.0% เป็น 56.8% (p < 0.001) ระยะเวลาที่ค่า INR อยู่ในระดับเป้าหมาย เพิ่มขึ้นจาก 45.0% เป็น  57.8% (p < 0.001) จำนวนครั้งที่ค่า INR ที่สูงกว่าระดับเป้าหมายมาก (INR > 5) ลดลงจาก 3.9% เป็น 1.4% (p = 0.043) โดย สรุประบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการคลินิกวาร์ฟารินสามารถลดขั้นตอน ลดภาระงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแล รักษาผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-23