การพัฒนางานฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางแบบต่อเนื่องสู่ชุมชน

ผู้แต่ง

  • Kanyarat Khumjun กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000
  • Panjit Wannapira กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000
  • Phanphrin Pinsakul กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000
  • Sasithorn Somjit กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยระยะกลาง, การฟื้นฟูสภาพ, การให้บริการในชุมชน

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ไม่สามารถเดินทางมารับบริการฟื้นฟูให้เต็มศักยภาพ ไม่สามารถป้องกันและ ลดความพิการ เกิดภาวะติดเตียงในระยะยาว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการให้บริการฟื้นฟูผู้ป่วย กลุ่มนี้ ให้ได้รับบริการต่อเนื่อง และเพื่อศึกษาผลการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ทำการศึกษาในผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมองระยะกลาง (Intermediate care, IMC) ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2558-ตุลาคม พ.ศ.2559 ในผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงไม่เกิน 6 เดือน และมีคะแนน ความสามารถการทำกิจวัตรประจำวัน (Barthel Index, BI) < 75และผู้ป่วยระยะยาว (Long term care, LTC) การศึกษามี 4 ขั้นตอนคือ 1 วิเคราะห์ระบบการให้บริการฟื้นฟูในชุมชนเดิม 2 พัฒนาระบบฟื้นฟู 3 นำวิธีการที่ ออกแบบไปดำเนินการและประเมินผล 4 สรุปผล สถิติที่ใช้ Wilcoxon Signed Ranks Test และ Mann-Whitney U กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่ามีการพัฒนาระบบการให้บริการฟื้นฟูผู้ป่วย IMC ในชุมชน เขต อ.เมือง ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ 25 แห่ง เฉลี่ยแห่งละ 2 ครั้ง/เดือน โดยทีม PCT ออกแบบระบบ บริการและการส่งต่อเขตอ.เมือง โดยนักกายภาพบำบัด 1 คนออกให้บริการฟื้นฟูในชุมชนร่วมกับทีม รพสต. ทุกวันทำการ บูรณาการให้บริการโดเรียงลำดับให้บริการผู้ป่วย IMC ก่อน LTC ประเมินผลการให้บริการในกลุ่ม Line ทุกวัน นำข้อมูลนำมาวิเคราะห์เฉพาะที่มี BI<75 และสิ้นสุดการรักษาแล้ว 84 คน เป็นผู้ป่วย IMC 48 คน และ LTC 36 คน พบว่าได้รับบริการเฉลี่ย 5.4 และ 3.5 ครั้งตามลำดับ เมื่อเริ่มต้นการรักษาค่ามัธยฐาน BI เริ่มต้นทั้ง สองกลุ่มไม่ต่างกันคือ 40 คะแนน เมื่อสิ้นสุดการรักษาผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีคะแนน BI เพิ่มขึ้น (p < 0.001) โดย IMC และ LTC ต่างกันคือ 90 และ 50 คะแนน ตามลำดับ (p < 0.001) สรุปการพัฒนาระบบการให้บริการฟื้นฟูในชุมชน ช่วยให้ผู้ป่วย Stroke ระยะกลางเข้าถึงบริการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 5.4 ครั้ง ทำให้ความสามารถ ในการทำกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น การฟื้นฟูผู้ป่วย IMC สามารถพัฒนาศักยภาพได้มากกว่าผู้ป่วยระยะ LTC การสนับสนุนระบบบริการผู้ป่วยระยะกลางช่วยลดปัญหาติดเตียง ลดความพิการ ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-20