ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยการเจริญพันธุ์ของนักเรียนหญิงที่พิการทางการเคลื่อนไหว

Authors

  • อรุณี ลิ้มมณี สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ดุษฎี โยเหลา สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นริสรา พึ่งโพธิ์สภ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

mobility impairment, sexually transmitted diseases prevention, unplanned pregnancy prevention, sexual abuse, reproductive health behavior, behavioral modification program, ความพิการทางการเคลื่อนไหว, การป้องกันจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, การป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์, การถูกล่วงละเมิดทางเพศ, โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยการเจริญพันธุ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยการเจริญพันธุ์ของนักเรียนหญิงที่พิการทางการเคลื่อนไหว กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนหญิงที่พิการทางการเคลื่อนไหว
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนศรีสังวาลย์ นนทบุรี จำนวน 30 คน โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกดังนี้
1) เป็นนักเรียนหญิงที่พิการทางการเคลื่อนไหวที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียนศรีสังวาลย์ นนทบุรี
2) มีความสมัครใจและได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองในการเข้าร่วมการวิจัย 3) ไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการวิจัย 4) ไม่มีความพิการทางสติปัญญาและความพิการทางการเรียนรู้ร่วมด้วย 5) ไม่เคยได้รับโปรแกรม
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จากนั้นคัดเลือกนักเรียนเข้ากลุ่มทดลอง 15 คน และกลุ่มควบคุม 15 คน
โดยกำหนดให้นักเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีลักษณะใกล้เคียงกันมากที่สุดในเรื่องของอายุและชั้นปี
ที่กำลังศึกษาและคะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อนการทดลอง (Pre-Test) กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยการเจริญพันธุ์ ส่วนกลุ่มควบคุม ซึ่งไม่ได้รับโปรแกรมฯ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลอนามัยการเจริญพันธุ์ มาตรวัดประมาณค่า 6 ระดับ จำนวน 14 ข้อ มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาค เท่ากับ 0.718 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุตัวแปร พบว่า คะแนนเฉลี่ยการดูแลอนามัยการเจริญพันธุ์โดยทั่วไป การป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และการป้องกันตนเองจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศของนักเรียนที่ได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยการเจริญพันธุ์ของนักเรียนหญิงที่พิการทางการเคลื่อนไหว (ค่าเฉลี่ย 5.35, 5.01 และ 5.53 ตามลำดับ) มากกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับโปรแกรมฯ (ค่าเฉลี่ย 2.85, 2.72 และ 2.96 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

 

The Effectiveness of the Behavioral Modification Program on Reproductive Health Behavior of Female Students with Mobility Impairment

The aim of this study was to examine the effectiveness of behavioral modification program on reproductive health behavior among female students with mobility impairment. The sample consisted of 30 female students with mobility impairment who met the following criteria:
1) studied at secondary level; 2) voluntarily participated in the program with consent of their parents; 3) had no illnesses that might hinder them from participating in the program; 4) had no intellectual and learning disabilities; 5) never participated in any behavioral modification program. Fifteen students were assigned to the experimental group and the other fifteen to the control group. Students in both groups were compatible in term of ages, levels of their study and pre-test scores. Students in the experimental group participated in behavioral modification program on reproductive health behavior while those in control group did not. Data were collected using questionnaires with six summated rating scale and then analyzed by MANCOVA. The results revealed that students who participated in the reproductive health behavioral modification program for female students with mobility impairment had better reproductive health behavior in 3 specific areas: general reproductive health care, self-prevention from sexually transmitted diseases and unwanted pregnancy, and self-prevention from sexual abuse, with statistical significance of 0.01.   

Downloads

Published

2018-01-31

How to Cite

ลิ้มมณี อ., โยเหลา ด., & พึ่งโพธิ์สภ น. (2018). ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยการเจริญพันธุ์ของนักเรียนหญิงที่พิการทางการเคลื่อนไหว. The Periodical of Behavioral Science, 24(1), 47–62. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/100064