The Effect of 3-Self Health Behavior Modification Program for Reducing Obesity of Late Adolescents

Authors

  • สุพิชชา วงค์จันทร์ นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อังศินันท์ อินทรกำแหง รองศาสตราจารย์ประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พรรณี บุญประกอบ นักวิชาการอิสระ

Abstract

ผลโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3-Self เพื่อลดภาวะอ้วนของวัยรุ่นตอนปลายThe objective of this experimental research was toexamine the effectiveness of behavior modification among three experimentalgroups in relation to self-efficacy, self-regulation, self-care behavior, andobesity. The sample in this study was 62 undergraduate students in the health sciencefield who were selected by cluster random sampling and assigned to anexperimental group.          Inexperimental group 1, 22 participated in health behavior modification based onthe Client Center program; and in experimental group 2, 20 participated inhealth behavior modification based on a teacher-centered style for 8 weeks. Inexperimental group 3, 20 students served as the control group. Data collectionwas conducted 3 times by 6-point scale questionnaires: before the program,immediately after the program, and 4 weeks after the program ended. Thereliability of each measure ranged from .88 to .93. Data were analyzed bytwo-way MANOVA repeated measures and MANOVA. According to the researchhypotheses, the results showed that 1) interaction between type ofprograms and times of measurement was found, 2)obese adolescents  in experimental group1 self-regulation higher than in experimental group 2 witha  statistical significance of (p<.05) after week 12,  3) obese adolescents inexperimental group 1 self-regulation were higher than the control group  with a  statistical significance of (p<.05)  after weeks 8 and 12  and obese adolescents in experimental group 1self-efficacy , self-care higher than the control group witha statistical significance of  (p<.05)after week 12, 4) experimental group 1 reduced obesityhigher than the control group with a statisticalsignificance of  (p<.05) after week12, 5) obese adolescents  in experimentalgroup 1  reduced obesity higher than  before the program with  a statistical significance of (p<.05) afterweeks 8 and 12, and 6) obese adolescents  in experimental group 2 reduced obesityhigher than before the program with a statistical significance of (p<.05)after week 12.  The conclusion is that resultsin experimental group 1 health behavior were higher than the other groups.  Keywords:Behavior 3–self, Behavior modification, Obesity, Self-efficacy, Self-regulation                   Self- careบทคัดย่อการวิจัยวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมสุขภาพ3-Self  และภาวะอ้วน หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และหลังทดลองเสร็จสิ้นสัปดาห์ที่ 12ระหว่างกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุมกลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตที่มีภาวะอ้วน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จากนิสิต7 คณะ ได้นิสิต 3 คณะ แบ่งเป็น กลุ่มทดลองที่ 1 มีจำนวน 22คน เข้าโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3–Self ที่เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง และกลุ่มทดลองที่ 2 จำนวน 20 คน เข้าโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3–Self ที่เน้นผู้ให้บริการเป็นศูนย์กลางส่วนกลุ่มควบคุม มีจำนวน 20 คน ทั้งนี้ใช้ระยะเวลาการทดลอง 8สัปดาห์  ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล3 ครั้ง ได้แก่ ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8และหลังการทดลองเสร็จสิ้นสัปดาห์ที่ 12  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามประเมิน3-Self ประกอบด้วย การรับรู้ความสามารถของตน การกำกับตนเองและการดูแลตนเอง ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธ์ของครอนบาคระหว่าง .88-.93วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรสองทางแบบวัดซ้ำและความแปรปรวนหลายตัว   ผลการวิจัยพบว่า 1)มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มการทดลอง และครั้งของการวัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.05) 2)  โดยกลุ่มทดลองที่1 มีการกำกับตนเองสูงกว่ากลุ่มทดลองที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.05) หลังการฝึกเสร็จสิ้นสัปดาห์ที่ 12   3) กลุ่มทดลองที่1 มีการกำกับตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.05) ภายหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและหลังการทดลองเสร็จสิ้นสัปดาห์ที่ 12 และมีการรับรู้ความสามารถของตนเองและการดูแลสุขภาพตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมหลังการทดลองเสร็จสิ้นสัปดาห์ที่12 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)  4) กลุ่มทดลองที่ 1มีภาวะอ้วนลดลงกว่ากลุ่มควบคุมหลังการทดลองเสร็จสิ้นสัปดาห์ที่ 12 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.05) 5)  และยังพบว่ากลุ่มทดลองที่ 1 มีภาวะอ้วนลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.05) หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและหลังการทดลองเสร็จสิ้นสัปดาห์ที่12  6) กลุ่มทดลองที่ 2มีภาวะอ้วนลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) หลังการทดลองเสร็จสิ้นสัปดาห์ที่ 12  จากการทดลองสรุปได้ว่ากลุ่มทดลองที่ 1 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและภาวะอ้วนดีกว่ากลุ่มอื่น คำสำคัญ: พฤติกรรมสุขภาพ 3– Self การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ภาวะอ้วน การรับรู้ความสามารถของตนเอง   การกำกับตนเอง การดูแลสุขภาพตนเอง

Author Biographies

สุพิชชา วงค์จันทร์, นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อังศินันท์ อินทรกำแหง, รองศาสตราจารย์ประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พรรณี บุญประกอบ, นักวิชาการอิสระ

Downloads

How to Cite

วงค์จันทร์ ส., อินทรกำแหง อ., & บุญประกอบ พ. (2014). The Effect of 3-Self Health Behavior Modification Program for Reducing Obesity of Late Adolescents. The Periodical of Behavioral Science, 20(1). Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/15867