การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความซื่อตรงเชิงพฤติกรรมของพนักงานฝ่ายขายเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจอเนอเรชั่นวายของบริษัทธุรกิจพาณิชย์ที่เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม

Authors

  • วชิรวิทย ไม้คู่ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • Piyada Sombatwattana
  • Yutthana Chaijukul
  • Viroj Jadesadaluk

Keywords:

behavioral research, Applied Psychology, Behavioral integrity, interaction theory, Interactionism model

Abstract

ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลต่อความเติบโตในการดำเนินธุรกิจ แต่ปัญหา
ความซื่อตรงเชิงพฤติกรรมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการดำเนินธุรกิจยังคงเพิ่มขึ้น การวิจัยครั้งนี้ จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของตัวแปรในด้านสถานการณ์ ด้านจิตลักษณะ กับจิตลักษณะตามสถานการณ์ ที่ส่งผลต่อ
ความซื่อตรงเชิงพฤติกรรมโดยรวมและรายด้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานฝ่ายขายเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และ
เจนเนอเรชั่นวายของบริษัทธุรกิจพาณิชย์ที่เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มแห่งหนึ่ง จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 6 ระดับ จำนวน 6 ตอน ที่มีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ .80 ถึง .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ
มีลําดับ (Hierarchical Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่าพบว่าตัวแปรที่ส่งผลต่อความซื่อตรงเชิงพฤติกรรมโดยรวมมากที่สุด มีเปอร์เซ็นต์ทำนายที่เพิ่มขึ้นอยู่ระหว่างร้อยละ 1.6 ถึงร้อยละ 1.9 โดยทำนายเพิ่มขึ้นสูงสุดในกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย คือ บุคลิกภาพด้านสติปัญญา (β = .22) ตัวแปรที่ส่งผลต่อความซื่อตรง
เชิงพฤติกรรมด้านความสอดคล้องระหว่างคำพูดและการกระทำของบุคคล มีเปอร์เซ็นต์ทำนายที่เพิ่มขึ้นอยู่ระหว่างร้อยละ 1.1 ถึงร้อยละ 2.3 โดยทำนายเพิ่มขึ้นสูงสุดในกลุ่มเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ คือ บุคลิกภาพด้านมโนธรรมหรือ
มีจิตสำนึก (β = .25) และตัวแปรที่ส่งผลต่อความซื่อตรงเชิงพฤติกรรมด้านความสอดคล้องระหว่างหลักการที่ได้กำหนดไว้กับการรักษาสัญญาจะปฏิบัติตามหลักการนั้น มีเปอร์เซ็นต์ทำนายที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 โดยทำนายเพิ่มขึ้นสูงสุดในกลุ่มรวมและกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย คือ บุคลิกภาพด้านสติปัญญา (β = .26) ซึ่งตัวแปรเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญต่อการพัฒนาความซื่อตรงเชิงพฤติกรรมของพนักงาน

References

คนึง ตรงต่อกิจ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต คณะทันตแพทย์ศาสตร์. พิษณุโลก: สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จริยา สายวารี ภมร แช่มรักษา ประสบสุข อินทรักษา และ นิตยา ไกรวงศ์.(2560). บรรยากาศจริยธรรมในสถานที่ทำงานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร. 9(2): 52-64.
ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2538). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม : การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
________________. (2538). พฤติกรรมศาสตร์ เล่ม 1 พื้นฐานความเข้าใจทางจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร :
ไทยวัฒนาพานิช.
________________. (2550, ตุลาคม). รูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม (Interactional model) และ แนวทางการตั้งสมมติฐานในการวิจัยสาขาจิตพฤติกรรมศาสตร์ในประเทศไทย. วารสารพัฒนาสังคม. 9(1): 85-117.
ทัศนี ศรีกิตติศักดิ์. (2554). เจนเนอเรชั่นในองค์กร บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ และปัจจัยจูงใจในการทํางาน : กรณีศึกษาพนักงานบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง. ปริญญามหาบัณฑิต .กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธรรมรัตน์ อยู่พรต. (2556). ค่านิยมในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของเจนเนอเรชั่นต่างๆ. วารสารบริหารธุรกิจปีที่ 36 (ฉบับที่138), หน้า 40-62.
ปวลัย วรสูต. (2547). การศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบที่สำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 ของโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปิยะรัฐ ธรรมพิทักษ์. (2558). โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพหุระดับของตัวแปรเชิงสาเหตุและภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารที่มีผลต่อจิตลักษณะและพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการทำงานของพานในองค์การมหาชน. ปริญญานิพนธ์ วท.ด. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2542). ความหมาย. สืบค้นจาก https://rirs3.royin.go.th/ dictionary.asp.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2554). เอกสารประกอบการบรรยาย ทฤษฎีและการจัดการองค์การ: จากแง่มุมทางจิตวิทยา. ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. (2536). พจนานุกรมไทย-ไทย. สืบค้นจาก https://board.dserver.org/easydharma/ 00000210.html.
สมยศ นาวีการ. (2544). การบริหารเพื่อความเป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.
สมยศ นาวีการ และผุสดี รุมาคม. (2520). องค์กร ทฤษฎีและพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.
สมสิทธิ์ อัสดรนิธี และ กาญจนา ภูครองนาค. (2555). การศึกษาวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อการบ่มเพาะความซื่อตรง. คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะ และวัฒนธรรม วุฒิสภาและศูนย์จิตตปัญญาศึกษา. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล.
สิวลี ศิริไล. (2550). จริยศาสตร์สำหรับพยาบาล. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุธาสินี แม้นญาติ. (2554). โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Adeline, Jol. (2015). Integrity and ethics and its effect on employees in organization. University Malaysia Sarawak.
Bandura, A. (1977).Social Learning Theory. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall.
Bandura, A. (1989). Social cognitive theory. Annals of Child Development. 6: 1–60
Brown, R. (1978). Social Psychology. New York : The Free Press.
Brown,M.E.; Trevino,L.K.. (2006).Ethical Leadership : A Review and Future Directions. The Leadership Quarterly.
Brown,M.E.; Trevino,L.K; & Harrison,D. (2005). Ethical Leadership : A Social Learning Perspective for Construct Development and Testing. Organization Behavior and Human Decision Processes.
Dawn, H. (2007). 10 Commandment of ethical leadership: The secret to becoming a trusted and respected leader. Retrieved May 17, 2014, from https://www.dawnfrail.com/ index.html.
Denison, D.R. (1990). Corporate culture and organizational effectiveness. England: Oxford.
Denison, D. R. and Mishra, A. K. (1995). Toward a Theory of a Organizational Culture And Effectiveness Organization Science. 6(2): 204-233.
Digman, John M. (1989). "Five Robust Trait Dimensions : Development, Stability and Utility,". Journal of Personality. Duke University. 2 (57) : 195 - 214.
Glass, A. (2007). Understanding generation differences for competitive success’, Industrial and commercial training, vol. 2 : 98-103.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., Anderson, R.E. & Andersen, R.E. (2010). Multivariate data analysis (Seventh edition). Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Education, Inc.
Hurtz,G.M.,and Donovan,J.J. (2000). "Personality and Job Performance The Big Five Revisited." Journal of Applied Psychology 85.
Keith,D.(1974).Human Behavior at work. New York : McGraw Hill.
Kohlberg. L. (1976). Moral stages and moralization: The cognitive development approach. In T. Liekone (ed.) Moral development and behavior: Theory, research and social issues. New York: Holt, Rinehart and Winston, pp. 31-53.
Lennick,D.and Kiel,F.(2005).Moral Intelligence : Enhancing Business Performance and Leadership success. Upper Saddle River NJ:Prentice Education Wharton School Publishing.
Macky, K., Gardner, D., & Forsyth, S. (2008). Generational differences at work: introduction and overview. Journal of Managerial Psychology, 28(8). Fromhttps://dx.doi.org/ 10.1108/ 02683940810904358.
McGuire, W. J. (1985). "Feeling and Knowing, Attitude and Attitude Change". In G. Lindzeyand Elliot Aronson (Eds.), The Handbook of Social Psychology (3rd edition, Vol. 2, pp.
233-246), Reading: Addison-Wesley Publishing Company.
Piaget, J. (1960). The Moral Judgement of the Child. lllionis: The Free Press.
Ponnu, C.; & Tennakoon, G. (2009). The Association between Ethical Leadership and Employee Outcomes - the Malaysian Case. Electronic Journal of Business Ethics and Organization Studies.
Rovinelli, R. J.; & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 2: 49-60.
Schein, Edgar H. (1999). The Corporate Culture Survival Guide: Sense and Nonsense about Culture Change. California: Jossey-Bass.

Steers, R.M. & L.W. Porter. (1979). Motivation and Work Behavior. New York :McGraw-HallBook Company.
Victor,B., & Cullen, J.B. (1987). A Theory and measure of ethical..
climate in organizations. In W.C.Frederick (ed.) Business ethics : Research issues and empirical studies : Greenwich : JAI Press.
Victor, B.; & Cullen, J. (1988). The Organizational Bases of Ethical Work Climates. Administrative Science Quarterly.
Victor, B.; & Cullen, J. (1990). A Theory and Measure of Ethical Climate in Organization In Business. Ethics: Research Issues and Empirical Studies.Edited by W.C. Frederick; & L. E. Press

Downloads

Published

2019-07-31

How to Cite

ไม้คู่ ว., Sombatwattana, P., Chaijukul, Y., & Jadesadaluk, V. (2019). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความซื่อตรงเชิงพฤติกรรมของพนักงานฝ่ายขายเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจอเนอเรชั่นวายของบริษัทธุรกิจพาณิชย์ที่เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม. The Periodical of Behavioral Science, 25(2), 133–151. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/195690