ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร

Authors

  • ปาจรีย์ (Pajaree) ทรงเสรีย์ (Songseree) BSRI SWU
  • วิชุดา (wichuda) กิจธรธรรม (Kijtorntham)

Abstract

Psychosocial Factors Related to Learning Inquiry Behaviors and Twenty First Century Skills under the Authority of Lower Secondary School Students,  the Secondary Educational Service Area Office One, Bangkok.

The objectives of this correlational research were: 1) to study the power of prediction of learning inquiry behaviors with psychological and social factors; and 2) to study the correlation between learning inquiry behaviors and twenty first century skills. The sample was 919 lower secondary school students chosen by multi-stage sampling. This research data were collected with questionnaires which used rating-scale and had reliabilities with alpha coefficients from .603 to .896. The data were analyzed by hierarchical multiple regression and Pearson’s correlation coefficient.

            The results showed that: 1) Psychological factors (Achievement motive, Future orientation and self-control, Positive attitude toward learning inquiry behaviors) and social factors (Social support from family, Good atmosphere in the school, Relationship with friends) helped to predict students’ learning inquiry behaviors of lower secondary school students about 41.8 with statistically significant level .05, and 2) learning inquiry behaviors were significance positive correlate with twenty first century skills of lower secondary school students (r = .74, P<.05.) 

Keywords: learning inquiry behaviors, psychosocial factors, twenty first century skills, lower secondary students

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางจิตและสังคมที่สำคัญในการทำนายพฤติกรรม
ใฝ่เรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร จำนวน  919  คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามวัดตัวแปรที่ศึกษาโดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดอยู่ระหว่าง .603-.896 โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยทางจิต ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตน เจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ และปัจจัยทางสังคม ได้แก่ การสนับสนุนจากครอบครัว บรรยากาศที่ดีในโรงเรียน สัมพันธภาพระหว่างนักเรียน
กับเพื่อน ทั้งหมดร่วมกันทำนายพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้ร้อยละ 41.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) พฤติกรรมใฝ่เรียนรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (r=.74, P<.05)

คำสำคัญพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ ปัจจัยทางจิตสังคม ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

 

Author Biography

วิชุดา (wichuda) กิจธรธรรม (Kijtorntham)

สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว

Downloads

Published

2017-01-31

How to Cite

ทรงเสรีย์ (Songseree) ป. (Pajaree), & กิจธรธรรม (Kijtorntham) ว. (wichuda). (2017). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร. The Periodical of Behavioral Science, 23(1), 169–186. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/76105