การเปรียบเทียบช่องทางการสื่อสารที่มีผลต่อการที่ผู้รับสารรับรู้อารมณ์เศร้าของผู้ส่งสาร

Authors

Abstract

 The Comparison of Communication Methods on the Perception of Sadness

This study investigates aims to compare communication methods on the perception of sadness. We aim to compare the influence of communication method of Face-to-face (F2F) and Facebook on the intensity of sadness perceived by the receivers. A total number of 112 participants who are students of Thammasat University whom enrolled in the course of general psychology (2nd semester of 2558) was chosen by the method of non-probability sampling; convenience sampling. After that, the subjects were divided into 2 groups and each group received a message in different ways (F2F and Facebook). Then, the participants were required to complete the questionnaire measuring the emotion they perceived. The questionnaire consists of 3 parts: the first part required participants to identify the emotion they perceived from the sender, the second required participants to rate the intensity of the emotion they perceived by using Affective Dimension of Valence from Self-Assessment Manikin (SAM) which has r = .857 when comparing with Affective Slider and r = .97 when comparing SAM with Semantic Differential Scale, and the final part required participants to describe the factor they used to perceive the emotion stated above. Although all of the participants could perceive the emotion of sadness, descriptive statistics suggested that 55.30% of the participants that received the message via F2F perceived the emotion by observing non-verbal cues of the sender, whereas 80.30% of the participants that received the message from Facebook perceived the emotion through viewing the text. An independent sample t-test found that the F2F group perceived sadness at a significantly greater degree than the Facebook group. (t = 2.280, p = 0.0125)

Keywords: communication, facebook, face-to-face, emotion, sadness

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบช่องทางการสื่อสารที่มีผลต่อการที่ผู้รับสารรับรู้อารมณ์เศร้าของผู้ส่งสาร โดยศึกษาเปรียบเทียบช่องทางการสื่อสารที่มีผลต่อการที่ผู้รับสารรับรู้ความเข้มข้นของอารมณ์เศร้าของผู้ส่งสาร  ระหว่างการรับสารแบบต่อหน้า (F2F) และการรับสารผ่าน Facebook โดยผู้เข้าร่วมการทดลองเป็นนักศึกษาที่ลงเรียนวิชาจิตวิทยาทั่วไป มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ภาคการศึกษาที่ 2/2558) จำนวน 112 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก กลุ่มการทดลองถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ในจำนวนใกล้เคียงกัน แต่ละกลุ่มได้รับสารจากช่องทางที่แตกต่างกัน (F2F และ Facebook) หลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมการทดลองตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับอารมณ์ที่รับรู้ได้ โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ระบุอารมณ์ของผู้ส่งสารที่ตนรับรู้ได้, เลือกระดับอารมณ์โดยใช้ Affective Dimension of Valance จาก Self-Assessment Manikin (SAM) (r= .857 เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ Affective Slider และมี r = .97 เมื่อเปรียบเทียบกับ Semantic Differential Scale) และระบุปัจจัยที่ใช้ในการรับรู้อารมณ์ข้างต้น ถึงแม้ว่าผู้เข้าร่วมการทดลองทั้ง 2 กลุ่มจะสามารถรับรู้อารมณ์เศร้าได้ไม่แตกต่างกัน พบว่า 55.30% ของผู้ที่รับสารแบบต่อหน้า (F2F) รับรู้อารมณ์โดยการสังเกตอวัจนภาษาของผู้ส่งสาร ในขณะที่ 80.30% ของผู้รับสารผ่าน Facebook รับรู้อารมณ์โดยการสังเกตภาษาที่ผู้ส่งสารใช้ นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูลจากโปรแกรม SPSS ด้วยวิธีการทางสถิติ Independent Sample T-test พบว่า ผู้เข้าร่วมการทดลองที่รับสารแบบ F2F สามารถรับรู้อารมณ์เศร้าได้เข้มข้นกว่าผู้ที่รับสารผ่าน Facebook อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.280, p = 0.0125)

คำสำคัญ: การสื่อสาร เฟซบุ๊ก การสื่อสารแบบต่อหน้า อารมณ์ ความเศร้า

Author Biography

นภมน (Noppamon) สว่างวิบูลย์พงศ์ (Swangwiboonpong)

นักศึกษา ภาควิชาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ E-mail: [email protected]

Downloads

Published

2017-01-31

How to Cite

สว่างวิบูลย์พงศ์ (Swangwiboonpong) น. (Noppamon). (2017). การเปรียบเทียบช่องทางการสื่อสารที่มีผลต่อการที่ผู้รับสารรับรู้อารมณ์เศร้าของผู้ส่งสาร. The Periodical of Behavioral Science, 23(1), 55–70. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/76123