ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น และเอเชีย ที่มีต่อการเคลื่อนย้ายการลงทุนทางตรง จากประเทศญี่ปุ่น สู่ 4 ประเทศในอาเซียน และ 3 ประเทศอุตสาหกรรมใหม่

Authors

  • พีรเดช ชูเกียรติขจร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นลิตรา ไทยประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

วิกฤตเศรษฐกิจ, การลงทุนทางตรงระหว่างประเทศ, Economics crisis, foreign direct investment

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าวิกฤตเศรษฐกิจปี 1990 ของญี่ปุ่น และวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997 ของเอเชียนั้นมีความ สัมพันธ์และส่งผลต่อการลงทุนทางตรงจากประเทศญี่ปุ่น อย่างไร โดยใช้ข้อมูล Panel data ในช่วงปี 1980–2010 สำหรับกลุ่มประเทศ ASEAN4 และในช่วงปี 1970–2010 สำหรับ NIEs3 ผลการศึกษาพบว่า Random effect เป็นแบบ จำลองที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในทั้งสองกรณี สำหรับประเทศในกลุ่ม ASEAN4 พบว่าอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศผู้รับการลงทุนนั้นหากยิ่งอ่อนค่าก็จะยิ่งได้รับ การลงทุนทางตรงจากประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น เนื่องจากบรรษัทของญี่ปุ่นนั้นสามารถใช้ โอกาสนี้ลดต้นทุนการผลิตจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าของประเทศผู้รับการลงทุนได้ เช่นเดียวกันกับวิกฤตเศรษฐกิจปี 1990 ของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเกิดจากการที่ค่าเงินเยน แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากช่วงเหตุการณ์ Plaza Accord ทำให้เกิดการย้ายฐาน การผลิตเข้ามาใน ASEAN4 เพิ่มมากขึ้น ส่วนค่าใช้จ่ายภาครัฐบาลนั้นทำให้การลงทุน ทางตรงจากประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายรัฐบาลนั้น จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและทำให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 1997 ที่ทำให้การลงทุนทางตรงจากประเทศญี่ปุ่นลดลง ในส่วนของกลุ่มประเทศ NIEs3 นั้นพบว่าวิกฤตเศรษฐกิจปี 1990 ของประเทศญี่ปุ่นและวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997 ของเอเชีย ทำให้การลงทุนทางตรงจากประเทศญี่ปุ่นสู่ประเทศ NIEs3 ลดลง อันเนื่องมาจากประเทศ ในกลุ่มนี้ได้รับการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นมาตั้งแต่ช่วงปี 1970 และเป็นการเข้าไปลงทุน โดยเงื่อนไขที่แตกต่างจาก ASEAN4 อีกทั้งในขณะนั้นประเทศในกลุ่ม NIEs3 มีค่าเงิน ที่แข็งค่าตามค่าเงินเยนทำให้การลงทุนทางตรงจากประเทศญี่ปุ่น ไหลไปสู่ประเทศในกลุ่ม ASEAN4 มากกว่า

 

This research aims to study the influence that Japanese foreign direct investment had during the Japanese Financial Crisis in 1990 and the Asian Financial Crisis in 1997 by observing macroeconomic variables. This study employs the panel data, which is the dataset of ASEAN4 during 1980–2010 and NIEs3 during 1970–2010. For the result of panel equation testing, the random effect is efficient and appropriate to estimate both the models of ASEAN4 and NIEs3.

The results of panel equation testing in ASEAN4 show that the exchange rates of the host countries are significantly negative with Japanese foreign direct investment due to Japanese multinational corporations having the ability to reduce production costs from the depreciation of exchange rates in their host country. Another contributing factor is after the Japanese Financial Crisis in 1990, the Japanese Yen continuously appreciated after the Plaza accord. Since 1990, there have been many Japanese foreign direct investments. Moreover, the government expenditure of the host countries are significantly positive with the Japanese foreign direct investment because raises in government expenditure can stimulus the economy, making the Japanese more attractive to foreign direct investment. On the other hand, with foreign direct investment, the Asian Financial Crisis in 1997 showed negative results in regards to foreign direct investment.

Downloads