การประเมินความยั่งยืนกลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชน

Authors

  • ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • รศ.ดร.ศศิเพ็ญ พวงสายใจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุขุม พันธุ์ณรงค์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิมลพรรณ บุญเสนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ความยั่งยืน, กลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชน, ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มประสบความสำเร็จศักยภาพ, สินค้าชุมชน, sustainability, community product, group

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อติดตามประเมินผลความยั่งยืน และเพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยมีกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุมชนในอดีตกว่า 368 กลุ่มที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เคยเข้าไปดำเนินการวิจัยและพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน พะเยา และแม่ฮ่องสอน ซึ่งสามารถรวบรวมข้อมูลได้ จำนวน 206 กลุ่ม โดยเป็น กลุ่มที่ยังคงประกอบการอยู่ จำนวน 167 กลุ่ม (81.07 %) และเลิกการประกอบการไปแล้ว จำนวน 39 กลุ่ม (18.93 %)
ในกลุ่มที่ยังคงประกอบการอยู่ ประเภทอาหาร พบว่า มีรายได้เฉลี่ย 936,550 บาทต่อปี ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มยังคงประกอบการอยู่ คือ สินค้ามีคุณภาพ ปลอดภัย ได้รับการรับรอง และมีรสชาติอร่อย กลุ่มประเภทเครื่องดื่ม พบว่า มีรายได้เฉลี่ย 1,495,714 บาทต่อปี สินค้าได้รับการรับรองจาก อย. ระดับมากที่สุด ไม่มีผลข้างเคียง รสชาติอร่อยหรือแตกต่างจากคู่แข่ง และใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ ปลอดภัย กลุ่มประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย พบว่า มีรายได้เฉลี่ย 944,600 บาทต่อปี ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มยังคงประกอบการอยู่ คือ สินค้ามีความประณีต สวยงาม มีความแข็งแรง ทนทาน มีอายุการใช้งานนานกว่าคู่แข่ง มีการออกแบบ รูปแบบสินค้ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เฉพาะท้องถิ่น กลุ่มประเภทของใช้และของประดับตกแต่ง พบว่า มีรายได้เฉลี่ย 1,445,600 บาทต่อปี ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มยังคงประกอบการอยู่ คือ สินค้ามีความประณีต สวยงาม มีความแข็งแรง ทนทาน มีอายุการใช้งานนานกว่าคู่แข่ง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ใช้สอยได้ดี กลุ่มประเภทศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก พบว่า มีรายได้เฉลี่ย 1,320,667 บาทต่อปี ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มยังคงประกอบการอยู่ คือ สินค้ามีความประณีต สวยงาม สินค้ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เฉพาะท้องถิ่น แข็งแรง ทนทาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ใช้สอยได้ดี

ส่วนด้านการบริหารจัดการ พบว่า ทุกลุ่ม กลุ่มที่ยังคงประกอบการอยู่ จะเป็นกลุ่มที่มีผู้นำที่ดีมีความเข้มแข็ง ทุกคนตั้งใจทำงาน มีการตั้งกฎระเบียบที่เอื้อต่อการทำงานกลุ่ม และทุกคนยอมรับปฏิบัติตาม มีการจัดทำบัญชีการเงิน มีการปันผล มีเงินทุนหมุนเวียนและสะสมทุนอยู่เสมอ ส่วนแรงงานผู้ผลิตก็มีการพัฒนาฝีมือ ความรู้ความสามารถ มีแรงงานสนใจเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มเพิ่มมากขึ้น มีการจัดกิจกรรมเพื่อชุมชน ด้านวัตถุดิบ อุปกรณ์ เทคโนโลยี แรงงาน และภูมิปัญญา พบว่า วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสามารถหาได้ในชุมชน อุปกรณ์เทคโนโลยีในการผลิตเหมาะสมกับการผลิต สามารถใช้งานได้ดี ใช้แรงงานในชุมชน และมีการสืบทอดภูมิปัญญา ด้านการตลาด กลุ่มมีรูปแบบสินค้าที่ตรงกับความต้องการของตลาด มีแหล่งจำหน่าย มีช่องทางการตลาดหลายกลาย มีการประชาสัมพันธ์ต่อเนื่อง การตั้งราคาก็มีความเหมาะสมเพื่อให้ได้กำไร
สำหรับกลุ่มที่เลิกการประกอบการไปแล้ว ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประเภทของใช้และของประดับตกแต่ง ส่วนใหญ่การยกเลิกกลุ่มในช่วงปี พ.ศ.2552, 2555 – 2556 ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มต้องยกเลิกไม่สามารถประกอบกิจการต่อได้ เนื่องมาจากด้านการตลาดเป็นสำคัญ คือ กลุ่มจำหน่ายสินค้าไม่ได้ ไม่มีช่องทางในการจำหน่ายสินค้า ทำให้จำนวนสมาชิกกลุ่มลดลง ขาดแรงงานผู้ผลิต ขาดแรงงานที่มีฝีมือ สมาชิกกลุ่มแยกกันไปทำเป็นธุรกิจส่วนตัว บางกลุ่มมีสมาชิกที่มีอายุมาก สุขภาพไม่แข็งแรง ทำให้ไม่มีผู้สืบทอด ด้านวัตถุดิบ พบว่า ประสบปัญหาวัตถุดิบหายากและราคาแพง ผู้นำกลุ่มไม่มีเวลาดูแลกลุ่ม ออกไปตั้งกลุ่มใหม่ ทำให้ไม่มีแกนนำ จึงประสบภาวะขาดทุนและไม่สามารถประกอบการต่อได้

This research is a follow-up evaluation of the sustainability of community product producers’ groups that the Community Economic Development and Research Center, faculty of economics, Chiang Mai University used to undertake an action research and development project in 2003 to explore the factors contributing to their sustainability. The said project covered 368 community product producers’ groups operating in the provinces of Chiang Mai, Chiang Rai, Nan, Phrae, Lampang, Lamphun, Phayao, and Mae Hong Son which was found that 206 producers’ groups could provide the needed information and only 167 (81.07 %) were still in business while the remaining 39 (18.93 %) were no longer in operation.
Of all business-active community product producers’ groups, those involved in food products category were found to get an average income of 936,550 baht per year and have the following product attributes which contributed to their sustainability: quality, safety, being certified, and good taste. Those in beverage category appeared to make an average annual income of 1,495,714 baht and their success factors for sustainability included certification granted by the Thai Food and Drug Administration, products having no side effects, products having good taste or product differentiation, and the use of safe and good quality raw materials. Those in textile and garments category earned on the average 944,600 baht income per year and the product attributes contributing to their sustainability were neatness, attractiveness, strength, durability, which were greater when compared with similar products offered by competitors; unique design particularly the reflection of local tradition. Those in household and decorations category received averagely 1,445,600 baht income per year per group and the factors contributing to their business sustainability were neatness, attractiveness, strength, and durability of their products which were greater compared with their competitors’ products; and the practical use of the products. Those in handicrafts and souvenirs category got on the average 1,320,667 baht income per year and the product attributes which enabled their business to be sustainable included neatness, attractiveness, unique designs reflecting the local traditions, strength, durability, and practicality of use.

In the aspect of administration and management, all the sustainable producers’ groups shared the common characteristics of having strong and devoting leadership, having established rules and regulations favorable for group works and acceptable by all group members, having good accounting and finance system, providing dividend to members, and having adequate fund for business operation and capital accumulation. Furthermore, labors or workers used in the production of community products generally got improvement in their working skills and knowledge and increasing number of them became interested to join the producers’ groups. In addition, the producers’ groups regularly arranged community activities. In the aspect of raw materials, equipment, technology, labor, and local knowledge, it was found that raw materials for producing community products were available locally, the equipment and technology for the production were appropriate and working well, and that there was the use of local labors, and there existed the transfer of local knowledge and wisdoms. With respect to marketing, virtually all producers’ groups produced community products as demanded by market, had various market outlets and marketing channels, made regular publicity, and set appropriate prices for their products to assure business profit.
Among the groups that were no longer in operation, most were those producing community products in household and decorations category which dissolved their group business in either 2009 or 2012 – 2013. Market related factors evidently were the main reasons for them to discontinue their group activities namely the group’s inability to sell the community products and the lack of marketing channels which caused the shrinkage of group memberships. There was also a problem involving shortage of labor particularly the skilled labor for producing some community products. Some group members decided to leave the group to form their own private business while some aging and unhealthy members appeared rather inactive especially when they had no one to inherit their knowledge and occupation. Scarcity and costliness of certain raw materials were also a discouraging factor for continuing the production and a cause of business loss. Leadership factor was equally crucial. The lack of group leader that could devote his time enough for his role and the departure of existing good group leader to form another group were also found to be the cause of business loss and discontinued operation of some community product producers’ groups.

 

Downloads

Published

2016-07-01