เมื่อผู้ปกครองสถาปนาตนเป็นรัฐ: ข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” กับ การบังคับใช้กฎหมายแบบอำนาจนิยมในประเทศไทย

Main Article Content

Noppon Archamas

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้พิจารณาพัฒนาการของตัวบทและการบังคับใช้ข้อหาประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 หรือข้อหายุยงปลุกปั่น ซึ่งอยู่ในหมวดความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ อย่างสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์และบริบททางการเมืองของประเทศไทย โดยต้องการชี้ให้เห็นว่าข้อกล่าวหานี้เป็นมรดกตกทอดจากการตรากฎหมายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์ที่กรอบคิดเรื่องรัฐ รัฐบาล และผู้ปกครองรัฐ ยังไม่ได้แยกออกจากกัน ลักษณะการบังคับใช้ข้อหานี้ยังสัมพันธ์กับลักษณะการใช้อำนาจของผู้ปกครองในแต่ละช่วงเวลา ข้อหามาตรา 116 ถูกใช้อย่างเข้มข้นมากขึ้นในช่วงยุครัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยเฉพาะการใช้ร่วมกันกับข้อหาเรื่องการกระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ในอดีต และยังปรากฏคดีจำนวนหนึ่งในช่วงหลังการรัฐประหาร 2549 ภายใต้บริบทความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างสีเสื้อ จนกระทั่งในช่วงหลังรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) การใช้ข้อกล่าวหานี้ก็พุ่งสูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน


คดีที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการชุมนุม โดยเฉพาะการแสดงออกในทางวิพากษ์วิจารณ์หรือคัดค้านผู้ปกครองในขณะนั้น ผู้ปกครองโดยเฉพาะหลังการรัฐประหาร ได้ใช้ข้อกล่าวหานี้เป็นเครื่องมือในการยับยั้งเสรีภาพในการแสดงออกและสร้างภาระทางคดีให้กับผู้ถูกกล่าวหา พร้อมกับการตีความข้อกล่าวหานี้ประหนึ่งว่ารัฐบาลหรือผู้ปกครองกลายเป็น “รัฐ” เสียเอง และความมั่นคงของผู้ปกครองกลับกลายไปเป็น “ความมั่นคงของรัฐ” การทำความเข้าใจการใช้ข้อหายุยงปลุกปั่นอย่างมีประวัติศาสตร์ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสะท้อนถึงระบอบอำนาจนิยมในบริบทการเมืองไทยได้อีกแง่มุมหนึ่ง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

“กสม.-นักกฎหมาย ชี้ รัฐใช้ ม.116 เป็นเครื่องมือปิดปาก พร้อมจี้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม.” [State uses Article 116 to be the tools to restrict Freedom of Expression, NHRC and lawyer says]. Freedom of Expression Documentation Center. Accessed March 28, 2018. https://ilaw.or.th/node/4610. (in Thai)

“มาตรา 116: เมื่อข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” ถูกใช้เป็นเครื่องมือปิดกั้นการแสดงออก” [Article 116: When Sedition law become the tools to restrict Freedom of Expression]. Freedom of Expression Documentation Center. Accessed March 28, 2018. https://freedom.ilaw.or.th/blog/. (in Thai)

“ศาลพิพากษายกฟ้อง 'พันธมิตร' คดีม็อบดาวกระจายไล่รัฐบาลสมัคร.” [Court Judge dismisses 'PDRC' protest against Samak Government cases]. Bangkok Biz News. Accessed March 23, 2018. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/765461. (in Thai)

“อัยการสั่งไม่ฟ้อง 4 เสื้อแดงเชียงราย ชุมนุม ปี 52 ลุ้นปีนี้ต่อผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แถมข้อหา ‘ผู้บงการ’” [The Prosecutors not to indict four Chiang Rai red shirts in 2009 Protest]. Prachatai. Accessed March 23, 2018. https://prachatai.com/journal/2010/09/30913. (in Thai)

Chris Baker, and Pasuk Phongpaichit. ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย [A Contemporary History of Thailand]. Bangkok: Matichon Publishing, 2014. (in Thai)

Jitti Tingsaphat. คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตอน 1 [Introduction to Criminal Law Code: Sector 2 Chapter 1]. Bangkok: Kung Siam Printing Group Company Publishing, 1993. (in Thai)

Kanit Na Nakorn. กฎหมายอาญาภาคความผิด [Criminal Law: Offenses]. (8th Edition). Bangkok: Winyuchon Publishing, 2000. (in Thai)

Loos, Tamara. Subject Siam: Family, Law and Colonial Modernity in Thailand. Bangkok: Silkworm Books, 2002.

Moustafa, Tamir. “Law and Courts in Authoritarian Regimes.” The Annual Review of Law and Social Science 10 (2014): 281-299.

Nakarin Mektrairat. ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม [Concept, Knowledge and Political Power in Siam Revolution]. (2th Edition). Bangkok: Same Sky Books Publishing, 2003. (in Thai)

Nakorn Kempalee. (Monk). คำพิพากษาคดีประวัติศาสตร์ศาลทหารกรุงเทพ [Bangkok Military Court Decision in History Cases]. Bangkok: Printing Center Publishing, 1966. (in Thai)

Noppon Archamas. “การบังคับใช้ศาลทหารต่อพลเรือน: ประวัติศาสตร์การเมืองว่าด้วยกลไกการปกครองของระบอบอำนาจนิยมในประเทศไทย” [Military Court Enforcement to Civilian: Political History about Government Mechanism of Authoritarian Regime in Thailand]. In ตุลาการธิปไตย ศาล และการรัฐประหาร [Judiciary, Court and Coup]. Bangkok: Thai Lawyers for Human Rights, 2018. (in Thai)

Somchai Preechasinlapakun. การวิจัยกฎหมายทางเลือก: แนวคิดและพรมแดนความรู้ [Alternative Legal Research: Concept and Knowledge Border]. Bangkok: Winyuchon Publishing, 2015. (in Thai)

Songkrant Pongboonjun. “เดินมิตรภาพ: ปฏิบัติการสร้างวัฒนธรรมทางกฎหมายจากเบื้องล่าง” [Friendship Walk: Movement for construction legal culture from below]. Prachatai. Accessed March 22, 2018. https://prachatai.com/journal/2018/01/75054. (in Thai)

Streckfuss, David. Truth on Trial in Thailand: Defamation, Treason and lèse-majesté. London and New York: Routledge, 2011.

Suk Payrinawin (Lieutenant General). ธรรมนูญศาลทหาร ประมวลกฎหมายอาญาทหาร วินัยทหาร กฎอัยการศึก [Military Court Code, Military Criminal Law, Military Discipline and Martial Law]. Bangkok: Thammasat University, 1972. (in Thai)

Supan Phunphat. คำอธิบายเรียงมาตราประมวลกฎหมายอาญา [Introduction to Criminal Law Code: Sort of Section].Bangkok: Niti Bunnakhan Publishing, 1993. (in Thai)

Thongbai Thongpoi. (1991). คอมมิวนิสต์ลาดยาว: บันทึกเรื่องราวการต่อสู้ของผู้ต้องหาคอมนิวนิสต์ในคุกลาดยาว [Ladyao Communists: Story about Struggle of Communists in Ladyao Prison]. (2th edition). Bangkok: Khaofang Publishing, 1991. (in Thai)

Yud Sang-Utai. คำอธิบายกฎหมายลักษณะอาณา ร.ศ.127 [Introduction to the Penal Code of Siam R.S. 127]. (6th Edition). Bangkok: Winyuchon Publishing, 2005. (in Thai)