ทัศนคติและปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการกลั่นแกล้งรังแกทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย : ศึกษากรณีนิสิตในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

Duangden Nakseeharach

บทคัดย่อ

การกลั่นแกล้งรังแกทางอินเทอร์เน็ตเป็นปัญหาร้ายแรงและเป็นเครื่องมือในการข่มขู่คุกคามหรือทำให้เกิดความหวาดกลัวและได้รับความเสียหายในรูปแบบใหม่ด้วยการติดต่อสื่อสารผ่านช่องทางเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตโดยส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ลักษณะต่างๆ ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ เช่น เว็บไซต์ในคอมพิวเตอร์ บล็อก จดหมายอิเล็กทรอนิคส์ และข้อความสั้นหรือสื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่น การศึกษาวิจัยนี้มุ่งศึกษามาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและควบคุมการกลั่นแกล้งรังแกทางอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ ได้แก่ แคนาดา สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร เปรียบเทียบกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ของไทยจากการศึกษาวิจัยพบว่าการปกปิดตัวตนในโลกไซเบอร์เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการกลั่นแกล้งรังแกทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างต่อเนื่องและซ้ำๆ ได้ง่ายและสะดวกกว่าการกลั่นแกล้งรังแกในแบบดั้งเดิมและผู้กระทำไม่จำเป็นต้องมีอำนาจทางกายภาพมากกว่าผู้ตกเป็นเหยื่อ นอกจากนี้ผลกระทบของการกลั่นแกล้งรังแกทางอินเทอร์เน็ตยังกระทบทั้งทางร่างกาย จิตใจของผู้ตกเป็นเหยื่อและกระทบต่อความสัมพันธ์ทางสังคมด้วย


สำหรับทัศนคติของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามนั้น ส่วนใหญ่เห็นว่าการกลั่นแล้งรังแกทางอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องการแกล้งธรรมดาเท่านั้น กล่าวคือการหยอกล้อซึ่งบุคคลมีสิทธิทำได้ยกเว้นนิสิตที่เคยตกเป็นเหยื่อด้วยตนเองแม้ปัจจุบันจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ยังไม่ชัดเจนเพียงพอในการป้องกันและควบคุมการกระทำความผิดดังกล่าวในหลายๆ กรณี เช่น มาตรา 16 บัญญัติแต่เฉพาะการเผยแพร่ภาพ ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงภาพทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง อับอาย ถูกเกลียดชัง แต่มิได้บัญญัติให้รวมถึงการโพสต์ข้อความหรือภาพที่ทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกหดหู่หรือด้อยค่าจากการกลั่นแกล้งรังแกทางอินเทอร์เน็ตแต่ไม่ถึงขนาดทำให้ผู้ถูกกระทำเสียชื่อเสียงโดยตรงหรือความเสียหายทางจิตใจด้วย นอกจากนี้ประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการป้องกันและควบคุมเรื่องดังกล่าวอย่างชัดแจ้งและมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Amaraphibal, Amorntip. “เหยื่อการรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในกลุ่มเยาวชน:ปัจจัยเสี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการปรึกษาบุคคลที่สาม”[Victim of Cyber-Bullying, Cyber-Bullying Behavior, Routine Activity, Negative Mental Health, Reporting to Third Person]. Research Methodology and Cognitive Science 14, No. 1, 2016. (in Thai)

Beheshti, Jamshid and Large, Andrew. ed. The Information Behavior of A New Generation: Children and Teens in the 21st Century. United Kingdom: Scarecrow Press, Inc., 2013.

Chayaboot, Najaree and Kosaiyakanont, Yodsak. “มาตรการทางกฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว จากการข่มเหงรังแกออนไลน์” [Legal Measures for the Protection of Rights to Privacy from Cyber Bullying]. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University12, No. 40, 2017. (in Thai)

Chayaboot, Najaree and Kosaiyakanont, Yodsak. “มาตรการทางกฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว จากการข่มเหงรังแกออนไลน์” [Legal Measures for the Protection of Rights to Privacy from Cyber Bullying]. Master's thesis, Sripatum University, Laws, 2017. (in Thai)

Kulnites, Narong. “เครือข่ายและการจัดการความรู้ทางด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์” [Network and Knowledge Management on Computer Crime]. National and International Conference and Research Presentation 5th (National Group: Science) 1, No. 5, 2016. (in Thai)

Local. “Austria Cracks down on cyber abuse”. Accessed November 2, 2017. https://www.thelocal.at/20160104/austria-cracks- down-on-cyber-abuse

Phitaksantayothin, Jompol. “การตามรังควานบนอินเทอร์เน็ต (Cyberstalking) กับความผิดทางอาญาในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร” [Cyberstalking and Criminal Liability in the United States of America and the United Kingdom]. Humanities and Social Sciences Academic Journal, Burapha University 13, No. 9, 2005. (in Thai)

Sangjareonsap, Krisda. “Cyberbullying: การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์และโศกนาฏกรรมของเมแกน ไมเออร์” [Cyberbullying: Bullying in Cyber World and Tragedy of Megan Taylor Meier]. Accessed November 1, 2016. https://thainetizen.org/2016/05/cyberbullying-megan-meier-krisda/. (in Thai)

Shariff, Shaheen and Dianne, L. Hoff, ,ed. Cyber Bullying, Legal Obligations and Educational Policy Vacuum” in K. Jaishankar Cyber Criminology: Exploring Internet Crimes and Criminal Behavior.United States of America: CRC Press, 2011.

Thongraweewong, Kanatip. “มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว: ศึกษากรณีการรบกวนสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวจากการใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคม” [Legal Measures for Protecting the Right to Privacy: A Study of Invasion of Privacy through the Use of Social Network Websites]. APHEIT Journal 18, No.2, 2012. (in Thai)

Williams, Matthew and Pearson, Olivia. “Hate Crime and Bullying in the Age of Social Media”. Conference Report, 2016.