บทวิพากษ์: ตัวแบบสถาบันและมุมมองจากบนสู่ล่างของนโยบายสาธารณะ

ผู้แต่ง

  • ยศธร ทวีพล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ (ปัจจุบันลาศึกษาต่อ ณ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

คำสำคัญ:

ตัวแบบสถาบัน, มุมมองบนสู่ล่าง, บทวิพากษ์, นโยบายสาธารณะ

บทคัดย่อ

ตัวแบบสถาบันและมุมมองจากบนสู่ล่างของนโยบายสาธารณะได้รับความสนใจจากบรรดานักวิชาการตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งถูกนำมาวิจัยและศึกษาอย่างแพร่หลาย หนังสือหรือตำราที่ปรากฏในเมืองไทยส่วนใหญ่นิยมนำตัวแบบและมุมมองดังกล่าวมาอธิบายปรากฏการณ์นโยบาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อนโยบาย แต่ขาดการตระหนักถึงรายละเอียดเชิงลึกของตัวแบบและมุมมองการอธิบายปรากฏการณ์นโยบายสาธารณะ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการวิพากษ์ตัวแบบสถาบันและมุมมองนโยบายสาธารณะจากบนสู่ล่าง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และชี้ให้เห็นลักษณะของตัวแบบ ตลอดจนมุมมองต่อการอธิบายนโยบายสาธารณะในมิติต่าง ๆ

จากการศึกษาพบว่า ตัวแบบสถาบันและมุมมองนโยบายสาธารณะจากบนสู่ล่างมีข้อควรพิจารณาบางประการในการอธิบายปรากฏการณ์นโยบายสาธารณะ เช่น ตัวแบบสถาบันเป็นตัวแบบที่ไม่สามารถอธิบายการนิยามหรือนับความเป็นสถาบันได้อย่างชัดเจน จนกระทั่งถูกมองว่าเป็นตัวแบบที่มีลักษณะอุดมคติและอธิบายประเด็นนโยบายสาธารณะทุกประเด็นอย่างไร้ขอบเขต เช่นเดียวกับมุมมองนโยบายสาธารณะจากบนสู่ล่างที่ถูกมองว่า เป็นตัวแบบที่ขาดหลักประกันนโยบายสาธารณะ จากการเน้นการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะโดยฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติผ่านกระบวนการการเลือกตั้งเป็นหลัก ซึ่งการทำความเข้าใจตัวแบบสถาบันและมุมมองนโยบายสาธารณะจากบนสู่ล่างอย่างลึกซึ้งย่อมเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคต

References

Ainley, P. (2001). From a National System Locally Administered to a National System Nationally Administered: The New Leviathan in Education and Training in England. Journal of Social Policy, 30(3), 457–476.
Cochran, C. L. and Malone, E. F. (1999). Public policy: Perspectives and Choices. Boston: McGrawHill.
Dryzek, J. S. (2006). Policy Analysis as Critique. In Moran, M., Rein, M., and Goodin, R., eds., The Oxford Handbooks of Political Science. Oxford: University Press, 190-206.
Dye, T. R. (2013). Understanding Public Policy. 14th ed. Boston: Pearson Education, Inc.
Fung, A. (2006). Democratizing the Policy Process. In Moran, M., Rein, M., and Goodin, R., Eds. The Oxford Handbooks of Political Science. Oxford: Oxford University Press, 669-688.
Hill, M. (2005). The Public Policy Process. 4th ed. Harlow: Pearson.
Immergut, E. M. (1992). The Rules of the Game: The Logic of Health Policy-Making in France, Switzerland and Sweden. In Steinmo, S., Thelen, K., and Longstreth, F., eds. Structuring Politics: Historical Institutionalism in Comparative Analysis. Cambridge: Cambridge University Press, 57-89.
Immergut, E. M. (2006). “Policy Analysis as Critique.” In Moran, M., Rein, M., and Goodin, R., eds., The Oxford Handbooks of Political Science. Oxford: Oxford University Press, 557-571.
John, P. (1998). Analysing Public Policy. London: Pinter.
Kickert, W. J. M., Klijn, E. H., and Koppenjan, J. F. M., eds. (1997). Managing Complex Networks: Strategies for the Public Sector. London: Sage.
March, J. G. and Olsen, J. P. (1984). The New Institutionalism: Organisational Factors in Political Life. American Political Science Review, 78, 734–749.
Mazmanian, D. A., and Sabatier, P. A. (1989). Implementation and Public Policy. Lanham: University Press of America.
Nordlinger, E. A. (1981). On the Autonomy of the Democratic State. Cambridge: Harvard University Press.
Orr, D., Neumann., J., and Muuss-Merholz, J. (2017). German OER Practices and Policy from Bottom-up to Top-down Initiatives. Moscow: UNESCO Institute for Information Technologies in Education.
Pülzl, H., and Oliver, T. Implementing Public Policy. In Fischer, F., Miller, G. J., and Sidney, M. S., eds. (2007). Handbook of Public Policy Analysis Theory, Politics, and Methods. Florida: CRC Press, 89-108.
Skocpol, T. (1994). Social Policy in the United States. Princeton: Princeton University Press.
Stachowiak, S., Robles, L., Habtemariam, E., and Maltry., M. (2016). Beyond the Win: Pathways for Policy Implementation. Seattle: ORS impact.
Surel, Y. (2000). The Role of Cognitive and Normative Frames in Policy-Making. Journal of European Public Policy, 7(4), 495–512.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-03-2019