ความต้องการและความพึงพอใจที่มีต่อเครื่องแบบสนามของกำลังพลภายในกองทัพภาคที่ 1

ผู้แต่ง

  • วัชริศ ศิริอุดมเศรษฐ กองพันทหารสื่อสารที่ 1
  • ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ, รศ. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศิริรัตน์ โกศการิกา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

เครื่องแบบสนาม, ความต้องการ, ความพึงพอใจ, กองทัพภาคที่ 1

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความต้องการและความพึงพอใจต่อเครื่องแบบสนามของกำลังพลภายในกองทัพภาคที่ 1 เพื่อศึกษาความต้องการและความพึงพอใจในการใช้เครื่องแบบสนาม จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ กำลังพลภายในสังกัดกองทัพภาคที่ 1 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จำนวน 400 คน และการสัมภาษณ์ จำนวน 4 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ซึ่งเป็นการจำแนกข้อมูลด้วยตัวแปร เพื่อหาความสัมพันธ์ ของตัวแปรที่มากกว่าสองตัวแปรที่ไม่เกี่ยวข้องกัน (Independent Samples) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 จากผลการศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท มีระดับชั้นยศเป็นพลทหาร สังกัด กองพลทหารราบที่2 รักษาพระองค์ (พล.2.) มีอายุราชการ ต่ำกว่า 10 ปี โดยจะปฏิบัติงานที่ตั้งปกติ (หน่วยต้นสังกัด) มากกว่าปฏิบัติงานราชการสนาม (ปฏิบัติงานนอกหน่วยต้นสังกัด เช่น กองร้อยรักษาความสงบชายแดน) ซึ่งมีดัชนีมวลกายลักษณะปกติ ซึ่งกำลังพลภายในกองทัพภาคที่ 1 มีความต้องการเครื่องแบบสนามอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจในเครื่องแบบสนามอยู่ในระดับมากที่สุด จากผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุ รายได้ อายุรับราชการ และรูปแบบภารกิจที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อความต้องการ เครื่องแบบสนามไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนด้านระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อความต้องการเครื่องแบบสนาม ในด้านสังคม ด้านต้องการที่จะมีเกียรติยศ ชื่อเสียง และในภาพรวมแตกต่างกัน ส่วนด้านระดับชั้นยศและดัชนีมวลกายที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อความต้องด้านต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียงแตกต่างกัน และปัจจัยส่วนบุคคล ด้านสังกัด ที่แตกต่างกันมีอิทธิพล ต่อความต้องการในทุก ๆ ด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.05 2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้ ระดับชั้นยศ รูปแบบภารกิจ และดัชนีมวลกายที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจต่อเครื่องแบบสนามไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ และด้านอายุรับราชการที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจ ด้านความพึงพอใจต่อประโยชน์หลักแตกต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจด้านลักษณะทั่วไป ด้านผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง และในภาพรวมแตกต่างกัน และปัจจัยส่วนบุคคลด้านสังกัดที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในทุก ๆ ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) จากผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นที่มีต่อความต้องการทั้ง 4 ขั้น พบว่า กำลังพลภายในกองทัพภาคที่ 1 ให้ความสำคัญกับความต้องการทางด้านร่างกายและความต้องการความปลอดภัยในชีวิตเป็นอันดับต้นๆ

References

กรมพลาธิการทหารบก. (2544). การวิจัยและพัฒนา เรื่อง โครงการวิจัยและพัฒนา ผ้าสีพราง. กรุงเทพฯ: กรมพลาธิการทหารบก.

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ:สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กำพล เกียรติปฐมชัย. (2538). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการของสำนักทะเบียนอำเภอ: ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ครองเขต ศรีวงศ์, พ.ท. (2560, 14 ธันวาคม). ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกำลังพลกองทัพภาคที่ 1. [บทสัมภาษณ์.]

จามรี บุนนาค. (2549). ความต้องการผ้าสีพราง สำหรับตัดชุดฝึกพราง ของข้าราชการกรมพลาธิการทหารบก ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: รุ่งเรือง
สาส์น.

ปราณี รามสูต และ จำรัส ด้วยสุวรรณ. (2546). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:
ธนะการพิมพ์.

ยุทธนา ธรรมเจริญ. (2530). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ศรีบุญอุตสาหกรรม.

ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2555). หลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ท้อป.

สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2552). เทคนิคการเขียนงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Kotler, P. (2003). Principi Di Marketing (Italian Translation of Principles of Marketing). N.P.: ISEDE and Prentice Hall International.

Maslow, A. H. (1943). Conflict, frustration, and the theory of threat. The Journal of Abnormal and Social Psychology, 38 (1): 81-86.

Peter, J. P., and J. C. Olson. (1996). Consumer Behaviour and Marketing Strategy (4th ed.). Chicago: Irwin.

Theodore, L. (1980, Jan-Fab). “Marketing success thorough differentiation-of anything.” Harvard Business Review, 83-91.

Yamane, T. (1976). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2018