การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธนัชชา คงสง คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ความเชื่อมั่น, ความสำเร็จของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยความเชื่อมั่น ภาวะผู้นำและความสำเร็จของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย 2) ความสัมพันธ์ของปัจจัยความเชื่อมั่น ภาวะผู้นำที่มี
ต่อความสำเร็จของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย และ 3) เปรียบเทียบปัจจัยความสำเร็จของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และมหาวิทยาลัยที่สังกัดของคณาจารย์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นคณาจารย์ทั้งหมด จำนวน 1,100 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามด้วยสถิติบรรยาย ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ทำการเปรียบเทียบเชิงซ้อน ด้วยวิธี Sheffé  และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation) โดยใช้โปรแกรม spss ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

          1. คณาจารย์มีความคิดเห็นด้านภาวะผู้นำ ความเชื่อมั่น และความสำเร็จของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทยอยู่ในระดับมาก

         2. ภาวะผู้นำและความเชื่อมั่นมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย

          3. ผลการเปรียบเทียบความสำเร็จของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ตำแหน่งทางวิชาการ รายได้ต่อเดือน พบว่า ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านมหาวิทยาลัยที่สังกัดของคณาจารย์ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

คณะกรรมการดำเนินงานวิจัย. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการศึกษาระดับ
ปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิม
พระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จันทร์เพ็ญ มีนคร (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของ
พนักงานเทศบาล จังหวัดสมุทรสาคร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ
“การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ฉบับที่ 4. กันยายน. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
จันทนา แสนสุข. (2557, มกราคม - เมษายน). ปัจจัยที่เป็นเหตุและผลของความสามารถ
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารสมาคม
นักวิจัย. 19(1), 34-46.
ทัศพร เกตุถนอม และเด่น ชะเนติยัง. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของ
ผู้บริหารระดับคณบดี สถาบันอุดมศึกษาของเอกชนในกรุงเทพมหานคร.
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 25(1), 125-137.
นิชชิมา สุพรรณคง. (2552). การศึกษาระดับความเชื่อมั่นของพนักงานระดับปฏิบัติการ
ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ
ไทย สำนักงานใหญ่ บางกรวย (นนทบุรี) ที่มีต่อองค์กร. (สารนิพนธ์
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นภวรรณ คณานุรักษ์. (2554, มกราคม – มีนาคม). บทบาทผู้นำองค์กรที่มีพนักงาน
วิชาชีพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 31(1).
ปิยะ เจริญเวชรักษ์. (2556, กรกฎาคม - ธันวาคม). รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหาร
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านการสร้างอิทธิพล เพื่อให้เกิดแรงจูงใจใน
การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการครู. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 15(2), 57-63.
เมธี ฉายอรุณ, ธัญยธรณ์ กนลา, และสุขพานิช ขันทปราบ. (2557, กันยายน – ธันวาคม).
ภาวะผู้นำด้านการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ
องค์กรอัจฉริยะ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืนของผู้บริหารระดับ
คณะวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.
สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 20(3), 58-72.
เลิศชัย สุธรรมานนท์. (2555). ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์และอิทธิพลของระบบ
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อความสำเร็จของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
ไทย. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย
(สสอท.), 18(2).
วิรัลพัชร วงศ์วัฒน์เกษม และสำเริง บุญเรืองรัตน์. (2556, ตุลาคม 2555 – มกราคม
2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา,
วารสารศึกษาศาสตร์, 24(1).
สุบิน ยุระรัช (2556, ตุลาคม-ธันวาคม). การพัฒนาคุณภาพบัณฑิตไทยสู่อาเซียน.
วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(4).
สุวิมล ติรกานันท์. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ.
พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2548). ภาวะผู้นำ ทฤษฎีและปฏิบัติ:ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็น
ผู้นำที่สมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). จำนวนอาจารย์ในเขตกรุงเทพมหานคร.
สืบค้น 20 กรกฎาคม 2559, จาก https://www.mua.go.th.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2562). การเกิดน้อยกับการถดถอยของผลิตภาพไทย.
สืบค้น 25 มกราคม 2562, จาก https:www.ftpi.or.th:2015:172.
AragÓn-Correa, A., García-Morales, J.V. & CordÓn-Pozo, E. (2007).
Leadership and organizational learning’s role on innovation and
performance: Lessons from Spain. Industrial Marketing Management, 36, 349-359.
Behbahani, A. (2011). Educational leaders and role of education on the
efficiency of schools principals. Procedia Social and Behavioral
Sciences, 15, 9-11.
Birasnav, M. (2014). Knowledge management and organizational
performance in the service industry: The role of transformational
leadership beyond the effects of transactional leadership.
Journal of Business Research, 67, 1622-1629. 
Chatterjee, A. & Kulakli, A. (2015). An Empirical investigation of the
relationship between Emotional Intelligence, Transactional
and Transformational Leadership Style in banking sector.
Procedia-Social and Behavioral Sciences, 210, 291-300.
Nevins, L.J. & Money,R.B. (2008). Performance implications of distributor
effectiveness, trust and culture in import channels of
distribution. Industrial Marketing Management, 37(1), 46-58.
Schwarz, v. U. T., Hasson, H. & Tafvelin, S. (2016). Leadership training as
an occupational health intervention: Improved safety and
sustained productivity. Safety Science, 81, 35-45.
Sheldrake, R. (2016). Confidence as motivational expressions of interest,
utility, and other influences: Exploring under-confidence and
over-confidence in science students at secondary school.
International Journal of Educational Research, 76, 50-65.
Tyssen, K.A., Wald, A. & Spieth, P. (2014). The challenge of transactional
and transformational leadership in projects. International.
Journal of Project Management, 32, 365-375.
Wang, G. & Seibert, E.S. (2015). The Impact of leader emotion display
frequency on follower performance: Leader surface acting and
mean emotion display as boundary condition. The Leadership
Quarterly, 26, 577-593.
Zhang, Y., Fang, Y., Wei, K.-K. & Chen, H. (2010). Exploring the role of
psychological safety in promoting the intention to continue
sharing knowledge in virtual communities. International Journal
of Information Management, 30, 425-436.
Zeinabadi, H. & Rastegarpour, H. (2010). Factors affecting teacher trust in
principal: testing the effect of transformational leadership and
procedural justice. Procedia Social and Behavioral Science, 5,
1004-1008.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-06-2019