ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะงานและความตั้งใจคงอยู่ในงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ทัศไนย ลิ้มเจียมรังษี คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

คุณลักษณะงาน, ความตั้งใจคงอยู่ในงาน, บุคลากรที่ปฏิบัติงานในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณลักษณะงานและความตั้งใจคงอยู่ในงานของบุคลากร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะงาน และความตั้งใจคงอยู่ในงานของบุคลากร โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตามสะดวกจากบุคลากรที่ปฏิบัติงานในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐานและการช่วยปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูง และได้รับการขึ้นทะเบียนในระบบ รวมจำนวน 225 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบบางส่วน

                 ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะงานของบุคลากรโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ส่วนความตั้งใจคงอยู่ในงานของบุคลากรโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) คุณลักษณะงานและความตั้งใจคงอยู่ในงานของบุคลากรมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .636) โดยคุณลักษณะงานด้านความเป็นเอกลักษณ์ของงาน และด้านความสำคัญของงาน มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจคงอยู่ในงานของบุคลากร โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 (r = .138 และ .212) ตามลำดับ

References

กฤตภัค แป้นถนอม. (2557). อิทธิพลของคุณลักษณะงาน การสนับสนุนทางสังคม และการถ่ายทอดทางสังคมขององค์การที่มีต่อความผูกพันต่อ
องค์การ ของพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตรมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, 40(1),
201 – 202.
ชลดา ปืนแก้ว. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานกับความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองที่มีพื้นฐานมาจาก
องค์การพยาบาลโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ).
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุรีวิริยาสาส์น
ปกภณ จันทศาสตร์. (2557). ปัจจัยคุณสมบัติส่วนบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะงาน และแรงจูงใจที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานเอกชนระดับ
ปฏิบัติการในเขตลาดพร้าว – จตุจักร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปรีดา กงกัญญา. (2556). การศึกษาความตั้งใจคงอยู่ในงานการสร้างอัตลักษณ์แห่งตนวัฒนธรรม องค์การลักษณะผู้นำที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ
ชีวิตในการทำงานของผู้บริหารกลุ่มบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายยาแผนปัจจุบันและเครื่องสำอางแห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ). คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร. (2560). แนวทางการพัฒนาเครื่องมือวัดตัวแปรด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.].
ราชกิจจานุเบกษา. (23 พฤษภาคม 2560) ประกาศกรุงเทพมหานคร .เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในหน่วยงานและการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ
ส่วนราชการกรุงเทพมหานคร. เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 138 ง : 37 – 39.
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพหมานคร (ศูนย์เอราวัณ) สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. (2560). รายงานประจำปี. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.].
วรพัชร์ ชุมวรฐายี. (2557). อิทธิพลของคุณลักษณะงานที่มีต่อคุณภาพของการให้บริการผ่านการมุ่งเน้นลูกค้าเป็นสำคัญของเจ้าหน้าที่บริการลูกค้า
บจม.ธนาคารกรุงไทย ในเขตจังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วันชัย ศกุลตนาค. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันของพนักงานกลุ่มงาน service desk ของธนาคารแห่งหนึ่ง.
(สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบันฑิต สาขาวิชาการจัดการ). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วัชรา ขาวผ่อง. (2556). ปัจจัยทำนายความพึงพอใจในงานและความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน ภาคตะวันออก.
(วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการพยาบาล). มหาวิทยาลัยบูรพา.
วารุณี มิลินทปัญญา. (2561). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคงอยู่ในงานของบุคลากรโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย.วารสารมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28),
250 – 251.
วนัญญา อดิศรพันธ์กุล และพนิต กุลศิริ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะงาน พฤติกรรมผู้นำกับความผูกพันต่อองค์การ.
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 4(2), 65.
อภิศักดิ์ รักชาติยิ่งชีพ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนและลักษณะงานที่มีผลต่อความผูกพันองค์กร กรณีศึกษา บริษัท ครัยโอเทค จำกัด.
(ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทั่วไป). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์.
อารีรัตน์ กันทอง. (2552). คุณลักษณะงานกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานบริษัท แคนยอน เอ็นจิเนียริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด. (การค้นคว้า
อิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต จิตวิทยาชุมชน). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Aminah Ahmad, Jegak Uli, and Khairuddin Idris. (2010). Job Characteristics as Antecedents of Intention to Stay and
Mediating Effects of Work Family Facilitation and Family Satisfaction among Single Mothers in Malaysia.
International Journal of Business and Social Science, 3, 59.
Fisher, M. L., Hinson, N., and Deets, C. (1994). Selected predictors of registered nurses’ intent to stay. Journal Advanced
Nursing. 20(5), 950-957.
Hackman, J. Richard, and Oldham, G. R. (1976). Motivation through the design of work: test of a theory. Organizational
Behavior and Human Performance, 16(2), 250–279.
Sarah J. Hewko, Pamela Brown, Kimberly D. Fraser, Carol A. Wong and Greta G. Cummings. (2014, November). Factors
influencing nurse managers' intent to stay or leave: a quantitative analysis. Journal of Nursing Management, 23(8),
1058 – 1066. Retrieved from: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/pdf/10.1111/jonm.12252/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-06-2019