การประยุกต์ใช้หลักการแปลกับการแปลงานวิศวกรรมเรือจากภาษาจีนเป็นภาษาไทย

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ อันประเสริฐ
กนกพร นุ่มทอง

Abstract

การเรียนรู้วิทยาการเทคโนโลยีด้วยการแปลภาษาเป็นเรื่องที่มีความสาคัญยิ่ง เพราะการแปลงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากภาษาจีนเป็นภาษาไทย มีบทบาทสาคัญต่อการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนและถ่ายทอดวิทยาการเทคโนโลยีของประเทศจีน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการแปลในระดับคาศัพท์เทคนิคหรือคาศัพท์เฉพาะทางกับวลีหรือกลุ่มคาที่ใช้เฉพาะในกลุ่มวิศวกรรมเรือ โดยเลือกศึกษาจากเอกสารสาคัญสองชุดคือ “คู่มือการออกแบบเรือ”(船舶设计实用手册)และบทความวิชาการเรื่อง “การใช้วิธีการประเมินความล้าโครงสร้างโดยสังเขป”(实用船舶结构疲劳评估方法概要) ผู้วิจัยศึกษาทฤษฎีศาสตร์การแปล หลักการแปลและปรับบท หลักและข้อควรระวังในการแปล รวมถึงการตรวจสอบการแปล จากนั้นลงมือปฏิบัติการแปลด้วยตัวเองโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการแปล เก็บรวบรวมข้อมูลจากการแปลเอกสารทั้งสองชุด สุดท้ายทาการวิเคราะห์ปัญหาการแปลในระดับคาศัพท์เทคนิคกับวลี ผลการศึกษาพบว่ามีปัญหาและแนวทางแก้ไขการแปลในระดับคาศัพท์เทคนิคและระดับวลี ปัญหาระดับคาศัพท์เทคนิคประกอบด้วย 1) การแปลคาศัพท์เทคนิค รวมถึงชื่อย่อ คาทับศัพท์และศัพท์ที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศ 2) การตีความหรือจับใจความและการเลือกใช้ภาษาฉบับแปล 3) การขาดแคลนพจนานุกรมศัพท์เฉพาะทาง แนวทางการแก้ไขปัญหาในระดับคาศัพท์เทคนิคมี 1) การเลือกรูปแบบการแปล 2) การอ่านทาความเข้าใจเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3) การเพิ่มคาอธิบาย 4) การใช้พจนานุกรมศัพท์เฉพาะทาง ในส่วนปัญหาระดับวลีประกอบด้วย 1) การตีความหรือจับใจความ จะต้องเข้าใจความสัมพันธ์ของคากับเนื้อหา 2) การเลือกใช้ภาษาฉบับแปล แนวทางการแก้ไขปัญหาในระดับวลีมี 1) การเลือกรูปแบบการแปล 2) การทาความเข้าใจในภาษาฉบับแปล โดยแนวทางการแก้ไขปัญหาในแต่ละระดับ ผู้วิจัยจะอธิบายแทรกอยู่ในกระบวนการการแปล ในการแปลของระดับศัพท์เทคนิคและวลีจะอยู่ที่ศัพท์เทคนิค(术语)เป็นสาคัญ ผู้วิจัยเห็นว่าการศึกษาหลักการแปลที่เอื้อต่อการแปล การรู้จักตัดสินใจที่จะแปลอย่างเป็นระบบ การรู้จักค้นคว้าศัพท์เทคนิคจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การมีคู่มือและเครื่องมือช่วยการแปล จึงจะช่วยให้งานแปลเฉพาะด้านมีคุณภาพ

Article Details

Section
Articles
Author Biographies

พงษ์ศักดิ์ อันประเสริฐ

ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10900

กนกพร นุ่มทอง

ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10900