ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองความต้องการของทารก ในมารดาที่มีบุตรคนแรก

Main Article Content

จีรันดา อ่อนเจริญ
นิตยา สินสุกใส
วรรณา พาหุวัฒนกร
ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำ นาจการทำ นายของอายุ การรับรู้สมรรถนะในตนเองในการเป็นมารดา
ความเครียดในการเลี้ยงดูทารก การสนับสนุนทางสังคม และพื้นอารมณ์ทารก ต่อการตอบสนองความ
ต้องการของทารกในมารดาที่มีบุตรคนแรก
แบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดบุตรคนแรกที่พักรักษาในหอผู้ป่วยหลังคลอดสามัญ
โรงพยาบาลศิริราช และมาตรวจหลังคลอดที่หน่วยอนามัยเจริญพันธุ์และวางแผนครอบครัว จำนวน 95
ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเชื่อในความสามารถในการ
เปน็ มารดา แบบสอบถามการตอบสนองต่อความต้องการของทารก แบบสอบถามความเครียดในการเลยี้ งดู
ทารก แบบสอบถามการสนบั สนนุ ทางสงั คมในการเลยี้ งดบู ตุ ร และแบบประเมนิ พนื้ อารมณข์ องทารก โดย
แบบสอบถามการตอบสนองต่อความต้องการของทารกได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรง-
คุณวุฒิ 5 คน มีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .86 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคของแบบสอบถาม
ในการศึกษาครั้งนี้ เท่ากับ .80, .82, .92 และ .92 ตามลำดับ สำหรับแบบประเมินพื้นอารมณ์ของทารก
หาความเที่ยงโดยการทดสอบซํ้า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเท่ากับ .79 วเิ คราะหข์ อ้ มลู โดย
การคำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุ
ผลการวิจัย: 1) ปัจจัยทำนายการตอบสนองความต้องการของทารกในมารดาที่มีบุตรคนแรก อย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การรับรู้สมรรถนะในตนเองในการเป็นมารดา (β= .530) ความเครียด
ในการเลี้ยงดูทารก (β= -.102) และพื้นอารมณ์ทารก (β= -3.223)
2) ปัจจัยทั้ง 5 ปัจจัย ได้แก่ อายุ การรับรู้สมรรถนะในตนเองในการเป็นมารดา ความเครียด
ในการเลี้ยงดูทารก การสนับสนุนทางสังคม และพื้นอารมณ์ทารก สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวน
ของการตอบสนองความต้องการของทารกในมารดาที่มีบุตรคนแรกได้ร้อยละ 34.1 (Adjusted R2 = 0.341)
ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
สรุป: พยาบาลควรส่งเสริมให้มารดาตอบสนองความต้องการของทารก โดยการสร้างเสริมให้เกิดความเชื่อ
มั่นในความสามารถของตนเองในการเลี้ยงดูทารก ประเมินความเครียดและแนะนำแนวทางในการจัดการ
ความเครียด โดยคำนึงถึงพื้นอารมณ์ของทารก

Article Details

Section
Research articles