ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ในสตรีผู้ใช้แรงงานที่มีภาวะนํ้าหนักเกิน

Main Article Content

สิรินันท์ เจริญผล
รัตน์ศิริ ทาโต

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง และปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีผู้ใช้แรงงานที่มีภาวะนํ้าหนักเกิน
แบบแผนงานวิจัย: การศึกษาแบบบรรยายเชิงทำนาย
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีผู้ใช้แรงงานที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม อายุระหว่าง 15-59 ปี ที่มีภาวะนํ้าหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน จำ.นวน 183 คน ที่คัดเลือกตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค ปัจจัยกระตุ้นการปฏิบัติ การรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำ.นวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงเท่ากับ .88,.84, .93, .89, .90, .96 และ .92 ตามลำ.ดับ มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .76, .85, .87, .73, .83, .80 และ .77 ตามลำ.ดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำ.นวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย: 1) พฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีผู้ใช้แรงงานที่มีภาวะนํ้าหนักเกิน โดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 61.98, S.D. = 6.96) 2) ปัจจัยกระตุ้นการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค การรับรู้ต่ออุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค และการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีผู้ใช้แรงงานที่มีภาวะนํ้าหนักเกิน ได้ร้อยละ 33.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านอายุ ลักษณะการทำงาน
การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ไม่สามารถทำ.นายพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้
สรุป: ควรส่งเสริมให้สตรีผู้ใช้แรงงานท่มี ีภาวะน้าํ หนักเกินมีการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงด้วยการลดการรับรู้อุปสรรคต่อการปฏิบัติพฤติกรรม ส่งเสริมการรับรู้ความรุนแรงและโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยให้ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และบุคลากรทางสาธารณสุขเข้ามามีส่วนร่วมในการกระตุ้นการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง

Article Details

Section
Research articles