ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านสุขภาพ ในผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วย เครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง

Main Article Content

ชัชวาล วงค์สารี

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง


แบบแผนงานวิจัย: การวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงการทำนาย


วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เข้ารับการรักษาโดยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 152 คน คัดเลือกด้วยการสุ่มอย่างง่ายด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลพฤติกรรมการจัดการตนเอง มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .95 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาคอน บราค เท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัย: 1) จัดการตนเองด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องไตเทียมอยู่ในระดับดี (Mean = 3.63, SD= 0.17) 2) ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม อายุ รายได้ และสถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .172, .254, .253, ตามลำดับ, p < .05) โดยทั้ง 5 ปัจจัยสามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการจัดการตนเองด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องไตเทียม ได้ร้อยละ 15.8  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05


สรุป: ควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีการจัดการที่ดีทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านอารมณ์และจิตวิญญาณ การพิทักษ์สิทธิของตนเอง การสื่อสารกับผู้ให้การดูแล การทำหน้าที่ในชีวิตประจำวัน การปฏิบัติตัวตามแผนการรักษา โดยส่งเสริมให้ผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาที่ดี มีระยะเวลาการฟอกเลือดที่มากกว่า 3 ปี และมีอายุมากกว่า 50 ปี มาเป็นตัวแบบที่ดีสำหรับสนับสนุนให้ผู้ป่วยอื่นได้เรียนรู้วิธีการจัดการตนเองด้านสุขภาพที่ได้ผลดี

Article Details

Section
Research articles