ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Main Article Content

นาตยา จิรัคคกุล
จิราพร เกศพิชญวัฒนา

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อนและหลังของการเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเอง และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่เข้าร่วมและไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการจัดการตนเอง

แบบแผนงานวิจัย:กาวิจัยแบบกึ่งทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีระดับความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับ 2-3 จำนวน 40 คน ที่มารับการรักษาแผนกตรวจผู้ป่วยนอก หน่วยโรคปอด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน จับคู่ในด้าน เพศ อายุ ระดับความรุนแรงของโรค และชนิดของยารักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการจัดการตนเองที่สร้างขึ้นโดยใช้แนวคิดการจัดการตนเองของ Bourbeau (2008)  ประกอบด้วย แผนการสอน คู่มือการจัดการตนเอง และวีดิทัศน์การบริหารการหายใจและการออกกำลังกาย ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องตรวจสมรรถภาพปอด วัดความเร็วสูงสุดของลมหายใจออก (Peak expiratory flow rate: PEFR) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที  

ผลการวิจัย: 

1) สมรรถภาพปอดของผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการ

ตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2) สมรรถภาพปอดของผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังภายหลังการทดลอง กลุ่มที่ได้รับ

โปรแกรมการจัดการตนเองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

สรุป:โปรแกรมจัดการตนเองส่งผลให้ผู้ป่วยสูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีสมรรถภาพปอดดีขึ้นและดีกว่าการพยาบาลตามปกติ

Article Details

Section
Research articles