การเปรียบเทียบประสิทธิผลการจัดตารางการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในสังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นงเยาว์ นาคงาม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลของการทำงาน, การจัดตาราง การทำงาน (แบบ 2 ผลัด กับแบบ 3 ผลัด)

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ตามการจัดตารางการทำงานแบบ 2 ผลัด กับการจัดตารางการทำงานแบบ 3 ผลัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเป็นผลัดในหอผู้ป่วยพิเศษอายุรกรรม ในโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ตารางการทำงานแบบ 2 ผลัด กับตารางการทำงานแบบ 3 ผลัด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามประสิทธิผลการทำงานก่อนและหลังการทดลองซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นอัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิผลการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ตามการจัดตารางการทำงานแบบ 2 ผลัด ดีกว่าประสิทธิผลการทำงานตามการจัดตารางการทำงานแบบ 3 ผลัด อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (t = 2.28 p < .05) การวิจัยนี้มีข้อบ่งชี้ว่า ผู้บริหารควรใช้รูปแบบการจัดตารางทำงานแบบ 2 ผลัดไปเป็น แนวทางในการบริหารจัดการบุคลากรของพยาบาลวิชาชีพ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการบริหารทางการพยาบาล

References

จิระพงศ์ เรืองกุน. (2556). การเปลี่ยนแปลงองค์การ: แนวคิด กระบวนการ และบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 5(1), 194-203.

ทรียาพรรณ สุภามณี, วิภาดา คุณาวิกติกุล, ผ่องศรี เกียรติเลิศนภา. (2557). การปฏิบัติงานเกินเวลาของพยาบาล และผลลัพธ์ด้านพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน. พยาบาลสาร. 41(ฉบับพิเศษ), 48-58.

ธัญธิภา แก้วแสง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์กรกับความจงรักภักดีต่อองค์กรของบุคลากรสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดองค์กรพยาบาลในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง. (2007). ทฤษฎีการปรับตัวของรอย Roy's adaptation model. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2560, จาก https://www.gotoknow.org ทฤษฎีทางการพยาบาล/ทฤษฎีทางพฤติกรรม.

รัชนี ตรีสุทธิวงษา. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงาน ความจงรักภักดีต่อองค์กรและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สภาการพยาบาล. (2555). แผนพัฒนาการพยาบาลและการผดุงครรภ์แห่งชาติฉบับที่ 3 พ.ศ. 2555-2559. นนทบุรี: สภาการพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.

สมชาติ โตรักษา. (2558). การพัฒนางานตามภารกิจหลักสู่งานวิจัย. Rajabhat Journal of Science, Humanities & Social Sciences. 16(2), 142-155.

อธิปพัฒน์ เดชขุนทด. (2558). อิทธิพลของการจัดการในองค์การมีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร โรงพยาบาลบางปะอิน. RMUTT Global Business and Economics Review. 10(2), 89-100.

อรุณรัตน์ คันธา. (2557). ผลกระทบและทางออกของการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาลในประเทศไทย.Journal of Nursing Science. 32(1), 81-90.

Arimura, M., Imai, M., Okawa, M., Fujimura, T., & Yamada, N. (2010). Sleep, mental health status, and medical errors among hospital nurses in Japan. Ind Health. 48(6), 811-7.

Doyle, A. (2016). Types of Work Schedules Different Types of Employee Work Schedules. [online].Retrieved August 13 2016, from https://www.thebalance.com.

Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (2013). Educational Administration: Theory Research and Practice.9th ed. New York: Me Graw - Hill.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.

Marriner, A. (1982). Contemporary nursing management issues and practice. Saint Louis: Missouri.

Olds, D. M., & Clarke, S. P. (2010).The effect of work hours on adverse events and errors in health care. Journal of Safety Research. (41), 153-162.

Stimpfel, A.W., Douglas, M. S. and Aiken, L. H. (2012). The Longer The Shifts For Hospital Nurses, The Higher The Levels Of Burnout And Patient Dissatisfaction. Health Affairs. 31(11), 2501-2508.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-09-30