ผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิกในครอบครัวต่อการลดความวิตกกังวล ในการดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ

ผู้แต่ง

  • อัจฉราภรณ์ บุญเมือง นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของสมาชิกในครอบครัว, ความวิตกกังวล, โปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิกในครอบครัว

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการมีส่วนร่วมของสมาชิกในครอบครัวต่อการลดความวิตกกังวลในการดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตซึ่งเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเป็นหลักระหว่างที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา จำนวน 52 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 26 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการมีส่วนร่วมของสมาชิกในครอบครัวต่อการลดความวิตกกังวลในการดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการมีส่วนร่วมของสมาชิกในครอบครัวต่อการลดความวิตกกังวลในการดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักตามกรอบแนวคิดของติวตันและเอเกอร์ (2003) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก และแบบประเมินความวิตก กังวลขณะเผชิญ STAI Form X-1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square test, t-test, Mann-Whitney U test และ Wilcoxon signed-rank test

          ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับโปรแกรมส่งเสริม การมีส่วนร่วม กลุ่มทดลองมีคะแนนการมีส่วนร่วมมากกว่ากลุ่มควบคุมและก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และมีความวิตกกังวลต่ำกว่ากลุ่มควบคุมและก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) การวิจัยครั้งนี้ บ่งชี้ว่าควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของสมาชิกในครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก เพื่อลดความวิตกกังวลของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยวิกฤต รวมทั้งเป็นการขยายขอบเขตการพยาบาลให้ครอบคลุมทั้งผู้ป่วยวิกฤตและญาติ

References

นิรมนต์ เหลาสุภาพ, สุปรีดา มั่นคง และยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม. (2554). ผลของโปรแกรมการจัดการความเครียด สำหรับญาติผู้ป่วยวิกฤตต่อความเครียดของญาติ. รามาธิบดีวารสาร. 20(1), 67-81.

เบญจพร รัตนปรีชากุล. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการลดความวิตกกังวลของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน. นครปฐม.

พรพิไล บัวสำอางค์, วารินทร์ บินโฮเซ็น และน้ำอ้อย ภักดีวงศ์. (2557). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสื่อสาร ข้อมูลแก่ญาติผู้ป่วยวิกฤตต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และการเผชิญความเครียด.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 32(4), 76-84.

รัชนี หลงสวาสดิ์, สุภาภรณ์ ด้วงแพง, และเขมารดี มาสิงบุญ. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากการพยาบาลผู้ใหญ่คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

วารุณี บัวมีธูป. (2551). ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร-มหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ, และชวนพิศ ทำนอง. (2559). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 9. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สุดารัตน์ ควระพฤกษ์, ธีรนุช ห้านิรัติศัย, และสุรีพร ธนศิลป์. (2556). ผลของโปรแกรมการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลต่อความรู้สึกทุกข์ทรมานของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ ความวิตกกังวลและความพึงพอใจของครอบครัว. พยาบาลสาร. 41(1), 96-108.

American Association of CriticalCare Nurses. (2005). Procedure manual for critical care.St. Louis: Elsevier Saunders.

Beckstrand, R. L., Callister, L. C., & Kirchhoff, K. T. (2006). Providing a "good death": Critical care nurses, suggestions for improving end-of-life care. American journal of critical care. 15(1), 38-45.

Bond, A.E. and other. (2003). Need of Family Members of Patients with Severe Traumatic Brain Injury Implications for Evidence-Based Practice. Critical Care Nurse.
23(4), 63-72.

Ciampone, J. T., Goncalves, L. A., Maia, F., & Padiha, K. G. (2007). Nursing care need and therapeutics interventions in intensive care unit: A comparative study among elderly and non-elderly patients. Actapaulenferm. 19(1), 28-35.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2 ed.. USA: Lawrence.

McAdam, J. L., Dracup, K. A., White, D. B., Fontaine, D. K., & Puntillo, K. A. (2010). Symptom experiences of family members of intensive care unit patients at high risk for dying.Critical Care Medicine. 38(4), 1078-1085.

Miracle, V. A. (2006). Strategies to meet the needs of families of critically ill patients.Dimensions of Critical Care Nursing. 25(3), 121-125.

Powers, P. H., Goldstein, C., Plank, G., Thomas, K., & Conkright, L. (2000). The value of patient and family-centered care: One hospital, s innovative strategy for involving patients and families in care decisions. American Journal of Nursing. 100(5), 84-89.

Spielberger, C. D., 1972. Anxiety as emotional state. In D. C. Spielberger, (ed.), Anxiety: Current trends in theory and research. pp. 23-49. New York: Academic press.

Sims. J. M., & Miracle, V. A. (2006). A look at critical care visitation: The case for flexible visitation. Dimensions of Critical Care Nursing. 25(4), 175-180.

Tracy J., Fowler, S., & Magarelli, K. (1999). Hope and anxiety of individual family members of critically ill adults. Applied Nursing Research. 12(3), 121-127.

Tutton, A., & Ager, L. (2003). Frail older people: Participation in care. Nursing Older people.15(8), 18-22.

Van Horn, E. R., & Kautz, D. (2007). Promotion of family integrity in the acute care setting:A review of the literature. Dimensions of Critical Care Nursing. 26(3), 101-109.

Verhaeghe, S., Defloor, T., Zuuren, F. V. Duijnstee, M., & Grypdonck, M. (2005). The needs and experiences of family members of adult patients in an intensive care unit:A review of the literature. Journal of Clinical Nursing. (14), 501-509.

William, C. M. (2005). The identification of family members, contribution to patients, care in the intensive care unit: A naturalistic inquiry. British Association of Critical Care Nurses.10(1), 6-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-09-30